ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ขาดนัดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Keywords:
ความรู้, การรับรู้พลังอำนาจ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พฤติกรรมการเยี่ยมบ้าน ความดันโลหิตสูงAbstract
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต เช่นโรคหลอดเลือดสมอง การติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาให้เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเพื่อติดตามกระตุ้นเตือนให้ผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ายังมี อสม. ที่ไม่สามารถปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขาดนัดได้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 85 ทั้งที่มีการอบรมให้ความรู้ การฝึกทักษะการเยี่ยมบ้านมาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขาดนัดของ อสม. รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. จำนวน 90 คน ปฏิบัติงานในเขตเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ จำนวน 19 ข้อ และการรับรู้พลังอำนาจ จำนวน 11 ข้อ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านจำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้ การรับรู้พลังอำนาจ เท่ากับ 0.63, 0.61 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 54.0 ± 10.4ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 48.9) มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 82.2) มีประสบการณ์การเป็น อสม. ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 80 มีความรู้ระดับสูงร้อยละ 43.3 มีการรับรู้พลังอำนาจระดับสูง ร้อยละ 54.4 และ มีพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านระดับสูงร้อยละ 52.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านของ อสม. ได้แก่ ความรู้ และรายได้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการอบรมให้ความรู้มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านของ อสม.และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชนDownloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)