ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความฉุกเฉิน โรงพยาบาลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการคัดกรองผู้ป่วยนอก 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความฉุกเฉิน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก 10 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 300 ราย จำแนกออกเป็นกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มละ 150 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการณ์ของการคัดกรองผู้ป่วยนอก พบว่า บุคลากรขาดความรู้และทักษะการคัดกรอง กระบวนการในการคัดกรองไม่ชัดเจน ไม่เป็นมาตรฐาน และช่องทางการส่งต่อผู้ป่วย จึงพบความอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจ
2. แนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความฉุกเฉิน 5 ระดับ จำแนกตามสี โดยใช้อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์การคัดแยก และมีแนวทางการดูแลที่เจาะจงกับกลุ่ม/ระดับผู้ป่วย
3. พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังอบรมการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรอง สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = 2.81, p = .005) อัตราการคัดกรองถูกต้อง ร้อยละ 96.67 และไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงขณะรอตรวจ มีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรอง และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.54, 4.71; SD = .52, .44 ตามลำดับ)
แนวปฏิบัติการคัดกรองตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ได้จริง ลดอัตราการทรุดลงเกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และเกิดความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
Aeimsomboon, T., Kawpangjun, W., & Sinthu, S., (2022). Triage in ER. In Sinthu, S (Eds.), Principle and practice in emergency nursing (pp. 101-168). Wathana. (in Thai)
Boonaran, A., Tappo, S., & Tungnoparatkul, M. (2024). The development of outpatient guidelines according to nursing standards Chaturaphakphiman Hospital Roi Et Province. Journal of Research and Health Innovative Development, 5(2), 447-456. (in Thai)
Donabedian, A. (2005). Evaluating the quality of medical care. The Milbank Quarterly, 83(4), 691-729. https://doi.org/10.1111/j.1468-0009.2005.00397.x
Gilboy, N., Tanabe, T., Travers, D., & Rosenau, A. M. (2023). Emergency severity index (ESI): A triage tool for emergency department care, Version 5. AHRQ Publication.
Janruechai, D., Thao-udom, P., & Huntirach, P. (2021). Development of a system for classification of patients in outpatient at Phra Achan Fun Acharo Hospital, Sakon Nakhon Province. Open Access Sakon Nakhon Provincial Public Health Office. https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20220907100431_585175189.pdf (in Thai)
Mana-ngan, M. (2020). Result of using triage guidelines for emergencies in the outpatient department, Chakkarat Hospital, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Public Health Nursing, 34(3), 52-65. (in Thai)
National Institute of Emergency Medicine. (2013). Guidelines for following the criteria and procedures. Triage emergency patients and arrange care at the emergency room according to the criteria set by the emergency department (3rd ed.). National Institute of Emergency Medicine. (in Thai)
Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2019). Assessment of nursing quality in ministry of public health hospital. Suea Tawan. (in Thai)
Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2022). National Nursing Service Action Plan (Year 2022-2026) (6th ed.). https://www.don.go.th/?page_id=917 (in Thai)
Pimsung, S., Kummabutr, J., & Nirattharadorn, M. (2018). The effect of a clinical practice guideline on abdominal pain triage in an outpatient. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(suppl), 99-109. (in Thai)
Ritintarangoon, O., Khowtong, W., Kongsomboon, P., & Kheaw-on, S. (2018). The development of triage system at emergency departmentin Sawanpracharak Hospital. Journal of the Department of Medicine Services, 43(2), 146-151. (in Thai)
Soukup, S. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. Nursing Clinic of North America, 35(2), 301-309. https://doi.org/10.1016/S0029-6465(22)02468-9
Sung Men Hospital. (2023). Annual statistical report on the number of people receiving outpatient services at Sung Men Hospital year 2021-2023. Sung Men Hospital. (in Thai)
Thesprasit, T. (2021). Development of a system for classification of patients in outpatient and emergency departments at Chokchai Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 15(36), 160-178. (in Thai)