ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ของสตรีกลุ่มเสี่ยง

Main Article Content

ชุติมา ทองบ้านทุ่ม
กนกพร นทีธนสมบัติ
ชฎาภา ประเสริฐทรง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ของสตรีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยงซึ่งไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 2 ปี มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนเหม่า จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และแบบสอบถามความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติ การตัดสินใจและการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีค่าดัชนีความสอดคล้องข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .95 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที


ผลการวิจัย พบว่า สตรีกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.12, p < .001) และเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100.00) ในขณะที่กลุ่มควบคุมเข้ารับบริการเพียงร้อยละ 33.33


ผลการวิจัยช้ให้เห็นว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรนำโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ไปใช้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในความรับผิดชอบ โดยควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวก เพื่อสนับสนุนการวัดการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apaipim, B., Srisuriyawet, R., & Rattanagreethakul, S. (2019). The effects of cervical cancer screening promoting program on behavior of cervical cancer screening among village health volunteers. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 7(3), 381-401. (in Thai)

Badran, I. G. (‎1995)‎. Knowledge, attitude and practice the three pillars of excellence and wisdom: A place in the medical profession. EMHJ - Eastern Mediterranean Health Journal, 1(‎1)‎, 8-16. https://iris.who.int/handle/10665/116905

Bizuayehu, H. M., Dadi, A. F., Hassen, T. A., Ketema, D. B., Ahmed, K. Y., Kassa, Z. Y., Amsalu, E., Kibret, G. D., Alemu, A. A., Alebel, A., Shifa, J. E., Assefa, Y., Tessema, G. A., Sarich, P., Gebremedhin, A. F., & Bore, M. G. (2024). Global burden of 34 cancers among women in 2020 and projections to 2040: Population‐based data from 185 countries/territories. International Journal of Cancer, 154(8), 1377-1393. https://doi.org/10.1002/ijc.34809

Bloom, B. S., & Webster, H. (1960). Chapter IV: The outcomes of college. Review of Educational Research, 30(4), 321-333. https://doi.org/10.3102/00346543030004321

Chanpradab, C., & Wittamasing, B. (2018). Effect of the promoting reception of cervical cancer screening service program using the health belief model in Bophoi Hospital area, Bophoi District, Kanchanaburi Province. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal, 3(2), 73-88. (in Thai)

Cohen, J. (2013). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic press.

Fisher, E. B., Fitzgibbon, M. L., Glasgow, R. E., Haire-Joshu, D., Hayman, L. L., Kaplan, R. M., Nanney, M. S., & Ockene, J. K. (2011). Behavior matters. American Journal of Preventive Medicine, 40(5), 15-30. https://doi.org/10.1016/j.amepre.2010.12.031

Health Data Center. (2020). Cervical cancer screening in 30-60 year. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report (in Thai)

National Cancer Institute. (2020). Hospital based cancer registry 2020. https://www.nci.go.th/e-book/hosbased_2564/index.html (in Thai)

Nursing Council. (2010). Competency of nursing and midwifery professionals. Siriyod printing. (in Thai)

Pinnark, P. (2020). Causes and factors to cervical cancer unscreened measuring: A Case study of women aged 30-60 years in Na Pho Sub-District, Sawi District, Chumphon Province. Journal of Health Research and Innovation, 3(1), 118-131. (in Thai)

Salmani, H., Ahmadi, M., & Shahrokhi, N. (2020). The impact of mobile health on cancer screening: A systematic review. Cancer Informatics, 19, 1176935120954191. https://doi.org/10.1177/1176935120954191

Sripoun, S., Sriwongchai, L., & Tanintithiphong, P. (2023). Effects of knowledge promoting program on knowledge of cervical cancer and cervical cancer screening among females aged 30-60 years old at Selaphum District, Roi Et Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 17(2), 766-776. (in Thai)

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2013). Competencies of registered nurses. Thailand Nursing and Midwifery Council.