การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี วิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์กับทีมผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 10 คน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยวิธีการวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 50 คน และ 4) ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วย 64 คน และทีมผู้บริหารทางการพยาบาล 10 คน ดำเนินการวิจัยเดือนพฤษภาคม 2564 – ธันวาคม 2565 เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพยาบาล และแบบประเมินความพร้อมด้านการบริหารทางการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .98, .97, .97 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนาและการทดสอบที่ ผลการศึกษา พบว่า
1. รูปแบบการบริหารการพยาบาล แบ่งเป็น 1) ระยะก่อนเกิดโรค ประกอบด้วย การประสานงาน การประเมิน การวางแผน การซ้อมแผน 2) ขณะเกิดโรค ประกอบด้วย การดำเนินงานตามบทบาท การบริการพยาบาล การบริหารอัตรากำลัง การบริหารวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ การประสานความ ร่วมมือ การเฝ้าระวังความเสี่ยง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสร้างแรงจูงใจ และการสร้างทัศนคติและแนวคิดแบบยืดหยุ่น 3) ระยะหลังเกิดโรค ประกอบด้วย การส่งต่อ การฟื้นฟู การประเมินผลลัพธ์ การถอดบทเรียน และการเตรียมความพร้อม
2. ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t = 10.15) มีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ระดับมาก (M = 3.87, SD = .65) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการพยาบาลอยู่ระดับมาก (M =4.12, SD = .70) และผู้บริหารทางการพยาบาลมีความพร้อมด้านการบริหารทางการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (M =4.42, SD =.42)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สามารถนำรูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละโรงพยาบาล เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่/โรคอุบัติใหม่ และควรพัฒนาคุณภาพของช่องทางการสื่อสาร ทั้งกับทีมสุขภาพและผู้รับบริการ ให้ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
Best, J. W. (1981). Research in education. Prentice Hall.
Bureau of Public Health Academics, Ministry of Public Health. (2021). Handbook for nursing management in the situation of the COVID-19 Pandemic. https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf (in Thai)
Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.
Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2021). Guidelines for the establishment of field hospitals. The Case of the outbreak of Coronavirus Disease 2019 or COVID-19 among asymptomatic patients or with few symptoms. https://www.kkpho.go.th/i2021/index.php/component/attachments/download/9601 (in Thai)
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (2021). Guidelines for establishing a field hospital: In the event of a widespread outbreak of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640111082302AM_Field%20Hospital%20GL_V_5_08012021.pdf (in Thai)
Hutton, A., Veenema, T. G., & Gebbie, K. (2016). Review of the International Council of Nurses (ICN) framework of disaster nursing competencies. Prehospital and Disaster Medicine, 31(6), 680-683.
Jennings-Sanders, A. (2004). Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings disaster nursing management model. Nurse Education in Practice, 4(1), 69-76.
Kumprasit, U. (2022). Development of nursing model during the COVID-19 outbreaks: In-patient department, Nonthai Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(1), 30-44. (in Thai)
Limprasertt, K., (2021). The development of nursing organization management model in Coronavirus Disease 2019 outbreak situation at Samutsakhon Hospital. Journal of Nursing Division, 48(3), 1-12. (in Thai)
Medical Records and Statistics Division, Medical Informatics Division, Phrachomklao Hospital. (2021). The statistical report, Phrachomklao Hospital, Phetchaburi Province. Phrachomklao Hospital, Phetchaburi Province. (in Thai)
Meenongwa, J. Hamilton, S., Pokathip, S., Semrum, W., Butudom, A., Khantichitr, P., Jaikla, P., Boonpha, R., Srisoem, C., & Choksawat, O. (2022). Exploring nursing workforce management and competencies during the covid-19 crisis at the 10th public health region focusing on the secondary and tertiary care Level. Health Systems Research Institute (HSRI). (in Thai)
Pitsachart, N., Saenprasarn, P., & Yonchoho, N. (2021). Nursing administration in New Normal Era. Journal of Nursing Division, 48(3), 202-211. (in Thai)
Ruangrattanatrai, W., Kongseub, P., Khamha, C., & Sirilak, S. (2021). Management of personal protective equipment (PPE) and N95 masks for coronavirus disease 2019 (COVID-19) case study in 5 hospitals. Journal of Health Science, 30(1), 137-49. (in Thai)
Sathira-Angkura, T., Leelawongs, S., Srisuthisak, S., Puttapitukpol, S., Yonchoho, N., & Jamsomboon. K. (2021). Development of nursing administration model in the COVID-19 outbreak situation of hospitals under the Ministry of Public Health. Journal of Health Science, 30(2), 320-33. (In Thai)
Toprasert, T. (2021). Competency of nurse in Emerging Infectious Disease Care, Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 15(1), 25–36. (in Thai)
Waterman J, R. H., Peters, T. J., & Phillips, J. R. (1980). Structure is not organization. Business Horizons, 23(3), 14-26.
World Health Organization. (2021). Critical preparedness, readiness and response actions for COVID-19. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/331511/Critical%20preparedness%20readiness%20and%20response%20actions%20COVID-10%202020-03-22_FINAL-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y