ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก ต่อความรู้ ทักษะทางการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

รัสวรรณ แสนคำหมื่น
ชนิกานต์ เกษมราช
วิรัลพัชร สกุลสันติพร เศลล์
สมรัก ครองยุทธ
วิศริยาพรรณ สืบศิรินุกูล
กตกร ประสารวรณ์
เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์

บทคัดย่อ

การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติมีความสำคัญต่อนักศึกษาพยาบาล เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะทางการพยาบาล และส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การวิจัยกึ่งทดลองวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก ต่อความรู้ ทักษะทางการพยาบาลและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 70 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการฝึกปฏิบัติ แบบประเมินทักษะทางการพยาบาล และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบวิลคอกซัน


ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะทางการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สูงกว่าก่อนทดลอง (Z = 7.29, 7.27 และ 6.61 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001)


จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก เพื่อเพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะทางการพยาบาลและส่งเสริมให้นักศึกษารับรู้สมรรถนะแห่งตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arkan, B., Ordin, Y., & Yilmaz, D. (2018). Undergraduate nursing students' experience related to their clinical learning environment and factors affecting to their clinical learning process. Nurse Education in Practice, 29, 127-132. https://doi.org/10.1016/j.nepr.2017.12.005

Bandura, A. (1997) Perceived self-efficacy: The exercise of control. Freeman and Company.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill.

Chaiwcharn, T., & Papol, A. (2020). The stress of nursing student training. EAU Heritage Journal Science and Technology, 15(1), 21-18. (in Thai)

Khumsuk, W., & Nillapun, M. (2021). Simulation-based learning. Journal of Council of Community Public Health, 3(1), 1-11. (in Thai)

Norman, J. (2012). Systematic review of the literature on simulation in nursing education. The Association of Black Nursing Faculty Foundation Journal, 23(2), 24-28.

Pibangwong, W., Khaojang, C., & Wattanasart, T. (2018). Effects of nursing practicum preparation program using a concept mapping for case analysis on abilities in utilizing a nursing process among 2nd-year nursing students, Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi. Journal of Phrapokklao Nursing College, 29(2), 13-22. (in Thai)

Plasom, P., & Passago, S. (2021). Learning management with concept mapping on digestive system to enhance systems thinking and learning achievement for grade 11th students. Ratchaphruek Journal, 19(3), 62-71. (in Thai)

Rungnoei, N., & Seesawang, J. (2016). Effects of self-development supportive for the pre-practicum preparation at intensive care unit on knowledge and skills among nursing students. Journal of Phrapokklao Nursing College, 27(2), 29-38. (in Thai)

Srisomboon, P., Damrongsa, P., Peantunyakam, N., & Arttham, W. (2019). Effects of using preparation program by flipped classroom before undertaking nursing practicum on stress and assertiveness for nursing professional characteristic of nursing students. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 196-207. (in Thai)

Thanaroj, S., Surmak, W., Kerdthong, W., & Chantra, R. (2021). Nursing teamwork skills development activities by using simulation based learning. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(8), 385-404. (in Thai)

Yue, M., Zhang, M., Zhang, C., & Jin, C. (2017). The effectiveness of concept mapping on development of critical thinking in nursing education: A systematic review and meta-analysis, Nurse Education Today, 52, 87-94. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2017.02.018