การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องทรวงอกโป่งพอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องทรวงอกโป่งพอง การศึกษานี้แบ่งเป็น 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ตามแนวคิดของโดนาบีเดียน 2) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดของซูคัพ และ 3) นำแนวปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและสามัญศัลยกรรมหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี ดำเนินการวิจัยระหว่างพฤศจิกายน 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 26 คน และ ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องทรวงอกโป่งพอง จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยก่อนที่จะมีการนำแนวปฏิบัติไปใช้ และกลุ่มทดลองหลังจากการนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า
1. แนวปฏิบัติปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องทรวงอกโป่งพอง ประกอบด้วย 4 หมวด คือ หมวด 1 การซักประวัติและการประเมินอาการแรกรับ หมวด 2 การจัดการและการพยาบาลก่อนผ่าตัด หมวด 3 การเตรียมผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด และ หมวด 4 การพยาบาลหลังผ่าตัด การวางแผนจำหน่าย และการดูแลต่อเนื่อง
2. ผลลัพธ์ของการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในด้านผู้ป่วยพบว่า มีจำนวนวันนอนในกลุ่มทดลอง (M = 11.90, SD = 5.04) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 13.60, SD = 8.88) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .46) พบภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ในระยะหลังผ่าตัด คือ ไตวายเฉียบพลัน หลอดเลือดแดงส่วนปลายขาดเลือดเฉียบพลันและภาวะลำไส้ขาดเลือด จำนวน 3 ราย ซึ่งลดลงจากก่อนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ผลลัพธ์ด้านพยาบาลพบว่า มีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -16.57, p < .001) มีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลครบถ้วน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 76.93 และมีคะแนนเฉลี่ยต่อความเหมาะสม ความพึงพอใจ และผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (M = 4.50, 4.65 และ 4.40; SD = .48, .56 และ .45 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การใช้แนวปฏิบัติตามมาตรฐานกระบวนการดูแลผู้ป่วย ต้องมีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกหมวด และทุกประเด็น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
AGREE Next Steps Consortium. (2013). Appraisal of guidelines for research and evaluation II: AGREE II instrument. http://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/10/ AGREE-II-Users-Manual-and-23-item-Instrument_2009_UPDATE_2013.pdf
Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Addison-Wesley.
Best, J. W. (1981). Research in education. Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill.
Donabedian, A. (2003). An introduction to quality assurance in health care. Oxford University Press.
Erbel, R., Aboyans, V., Boileau, C., Bossone, E., Bartolomeo, R. D., Eggebrecht, H., Evangelista, A., Falk, V., Frank, H., Gaemperli, O., Grabenwöger, M., Haverich, A., Lung, B., Manolis, A. J., Meijboom, F., Nienaber, C. A., Roffi, M. R., Rousseau, H., Sechtem, U., … & ESC Committee for Practice Guidelines. (2014). ESC guidelines on the diagnosis and treatment of aortic diseases: Document covering acute and chronic aortic diseases of the thoracic and abdominal aorta of the adult. The task force for the diagnosis and treatment of aortic diseases of the European society of cardiology (ESC). European Heart Journal, 35(41), 2873–2926. https://doi.org/10.1093/eurheartj/ehu281
Faiza, Z., & Sharman, T. (2022, 8 May). Thoracic aorta aneurysm. National Liberty of Medicine. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554567/
Feldman, M., Shah, M., & Elefteriades, J. A. (2009). Medical management of acute type A aortic dissection. Annals of Thoracic and Cardiovascular Surgery, 15(5), 286-293.
Isselbacher, E. M., Preventza, O., Hamilton Black III, J., Augoustides, J. G., Beck, A. W., Bolen, M. A., Braverman, A. C., Bray, B. E., Brown-Zimmerman, M. M., Chen, E. P., Collins, T. J., DeAnda, A., Fanola, C. L., Girardi, L. N., Hicks, C. W., Hui, D. S., Jones, W. S., Kalahasti, V., Kim, K. M., … & Woo, Y. J. (2022). 2022 ACC/AHA Guideline for the diagnosis and management of aortic disease: A report of the American Heart Association/American College of Cardiology Joint Committee on Clinical Practice Guidelines. Journal of the American College of Cardiology, 80(24), 223-393.
Kohlman-Trigoboff, D., Rich, K., Foley, A., Fitzgerald, K., Arizmendi, D., Robinson, C., Brown, R., Treat-Jacobson, D., & Society for Vascular Nursing Practice and Research Committee (2020). Society for vascular nursing endovascular repair of abdominal aortic aneurysm (AAA) updated nursing clinical practice guideline. Journal of Vascular Nursing, 38(2), 36-65.
Mokashi, S. A., & Svensson, L. G. (2019). Guidelines for the management of thoracic aortic disease in 2017. General Thoracic and Cardiovascular Surgery, 67, 59-65.
National Health and Medical Research Council. (1999). A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf
Panvilai, K., Uthaikul, O., Yodkolkij, T, & Saengprakai, W. (2020). Development and effect of implementing nursing guideline for Endovascular Aortic Aneurysm Repair (EVAR) patients. Vajira Nursing Journal, 22(2), 58-70. (in Thai)
Picheansathian, W. (2018). Searching the evidence: Essential skill for nurse in Thailand 4.0. The Journal of Nursing and Midwifery Practice, 5(1), 136-148. (in Thai)
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Principles and methods (7th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.
Ritklar, L., & Piyayotai, D. (2019). Effects of clinical nursing practice guideline for nursing care of patients with coronary artery disease: Undergone coronary angiography on complications and anxiety levels in medical unit, Thammasat University Hospital. Nursing Journal, 46(4), 149-157. (in Thai)
Rosner, B. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbury Press.
Soukup, S. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309.
Suwanakkaradecha, K., Kuwatsamrit, K., & Polpong, P. (2018). Effectiveness of clinical practice guideline implementation for caring of patients with aneurysmal subarachnoid hemorrhage post craniotomy with clipping aneurysm. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice, 5(1), 75-93. (in Thai)
The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2020). Program and disease-specific standards: PDSS. The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (in Thai)
The Society Thoracic Surgeons of Thailand. (2022). Stat surgery. https://thaists.org/en/stat-surgery/