ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน กับการตรวจสอบการสรุปและให้รหัสทางการแพทย์ในประเทศไทย

Main Article Content

อรพรรณ มณีเนตร
สุกัญญา จงถาวรสถิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนกับผลการตรวจสอบการสรุปและให้รหัสทางการแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากผลการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน และผลการตรวจสอบการสรุปและให้รหัสทางการแพทย์ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ของโรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 910 แห่ง ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน หัวเรื่องที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ บันทึกสรุปการจำหน่าย (อื่นๆ) (M = 8.31, SD = 0.66) และต่ำสุดในหัวเรื่องบันทึกการปรึกษาโรคระหว่างแผนกหรือกลุ่มงานของแพทย์ (M = 5.76, SD = 1.78) และมีเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยเท่ากับ 80.57 (SD = 8.69) ผลการประเมินความถูกต้องการสรุปการวินิจฉัยโรคและหัตถการของแพทย์พบว่า ผู้ประเมินไม่มีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับการสรุปการวินิจฉัยและการสรุปหัตถการในสรุปการจำหน่ายของแพทย์ คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 43.88 (SD = 12.91) และการประเมินความถูกต้องการให้รหัสการวินิจฉัยโรคและหัตถการพบว่า ผู้ประเมินมีความเห็นที่ตรงกันกับผู้ให้รหัส คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 70.98 (SD = 15.09)


2. เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของผลการตรวจประเมินการบันทึกเวชระเบียนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับผลการประเมินความถูกต้องซึ่งผู้ประเมินไม่มีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับการสรุปการวินิจฉัยและการสรุปหัตถการในบันทึกการสรุปการจำหน่ายของแพทย์ และผลการประเมินซึ่งผู้ประเมินไม่มีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับการให้รหัสโรคและหัตถการของผู้ให้รหัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .097, .131)


โรงพยาบาลควรมีการพัฒนาให้ความรู้เพิ่มทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน การตรวจประเมินคุณภาพการสรุปและให้รหัสทางการแพทย์แก่บุคลากร และดำเนินการตรวจสอบภายในเป็นประจำอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนเชิงนโยบายและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chongthawonsatid, S. (2017). Validity of principal diagnoses in discharge summaries and ICD-10 coding assessments based on national health data of Thailand. Healthcare Informatics Research, 23(4), 293-303. https://doi.org/10.4258/hir.2017.23.4.293

Dixon, J., Sanderson, C., Elliott, P., Walls, P., Jones, J., & Petticrew, M. (1998). Assessment of the reproducibility of clinical coding in routinely collected hospital activity data: A study in two hospitals. Journal of Public Health, 20(1), 63-69.

Khwaja, H. A., Syed, H., & Cranston, D. W. (2002). Coding errors: A comparative analysis of hospital and prospectively collected departmental data. BJU International, 89(3), 178-180.

Kotamee, U., Turnbull, N., & Chanabun, S. (2017). The development medical records for the multidisciplinary team in Chaiwan Hospital, Chaiwan District, UdonThani Province. The Public Health Journal of Burapha University, 12(2), 1-14. (in Thai)

National Health Security Office. (2014). Medical record audit guideline. Srimuang Printing.

National Health Security Office. (2018a). Guideline of medical document audit 2019. Sahamitr. (in Thai)

National Health Security Office. (2018b). Medical record assessment report, Fiscal year 2018. National Health Security Office. (in Thai)

Hfocus. (2020, 28 January). NHSO Region 7 found that many hospitals missed medical record summaries was a problem with less disbursement and a lack of liquidity. https://www.hfocus.org/content/2020/01/18397

Sanpang, P. (2012). Operation on medical records of in-patient and the request of money for the compensation of medical services: Case study of Bangkok Metropolitan Administration General Hospital [Unpublished master’s thesis]. National Institute of Development Administration. (in Thai)

Srinukham, S., Pannngoen, W., Raknam, T., & Wattanagoon, Y. (2014). Study on summary of discharge diagnosis (ICD-10 and ICD-9 CM) and hospital fee reimbursement based on diagnosis related group system at Hospital for Tropical Diseases. Integrated Social Science Journal Mahidol University, 1(2), 125-143. (in Thai)

Thailand Ministry of Public Health. (2014). International statistical classification of diseases and related health problems 10th revision Thai modification (ICD-10-TM): Standard cording guideline. WVO officer of printing mill, The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage His Majesty the King. (in Thai)

Thailand Ministry of Public Health. (2017). International statistical classification of diseases and related health problems 10th revision Thai modification (ICD-10-TM): Standard cording guideline. Saeng chan press. (in Thai)

Wannapaisan, C. (2019). Social studies research tools (3rd ed.). Chiang Mai University. (in Thai)

Youthao, S. (2012). Problem and guideline for development of medical record department and medical record profession in Thailand. In Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University, Social sciences, humanities and education academic conference 2011: ASEAN national research university and the future of Thailand. Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. (in Thai)