บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพทางเพศ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นยังเป็นข้อกังวลหนึ่งที่สาธารณสุขจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการตั้งครรภ์ซ้ำในช่วงวัยรุ่นส่งผลกระทบทางร่างกายและเพิ่มภาระทางเศรษฐกิจสังคมที่ซ้ำซ้อนมากขึ้น ซึ่งความรอบรู้สุขภาพทางเพศ เป็นปัจจัยหลักที่สามารถสะท้อนได้ว่า ผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศจะสามารถใช้ทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ การเข้าถึงข้อมูล การสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ การประเมินตนเองและการจัดการตนเอง การมีทักษะการตัดสินใจที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีได้
แม้ว่ามารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นผู้ผ่านการมีประสบการณ์ตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนมาแล้ว แต่ยังพบว่ามีหลายคนมีการตั้งครรภ์ซ้ำและเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกาย จิตและสังคม ซึ่งมีปัจจัยสำคัญคือ การขาดความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ พยาบาลจึงเป็นบุคลากรสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอด บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทพยาบาลและความสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพทางเพศ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น และการเว้นระยะการมีบุตรเพื่อให้เหมาะสมกับวัย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กองการพยาบาล. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. http://nurse.npru.ac.th/system/20190113191522_a0a9ca0b2dc8a20555739e94e6ab03dc.pdf
กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์, วรรณา พาหุวัฒนกร, ทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย, และ ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด.วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 322-330.
ปาริฉัตร อารยะจารุ, วิราวรรณ คล้ายหิรัญ, และ จิราภรณ์ อนุชา. (2562). ประสบการณ์ชีวิตของมารดาวัยรุ่น: ความตั้งใจ/ไม่ตั้งใจ ในการตั้งครรภ์ซ้ำ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 177-185.
พัชรวรรณ เครื่องแก้ว, วรรณา พาหุวัฒนกร, และ ฤดี ปุงบางกระดี่. (2564). ปัจจัยทำนายด้านความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 39(1), 64-76.
วรรณศิริ นิลเนตร, และ วาสนา เรืองจุติโพธิ์พาน. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับวิชาชีพพยาบาล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 15(2), 1-18.
วันชัย สมใจเพ็ง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในอําเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(2), 101-116.
สุดกัญญา ปานเจริญ, จิราจันทร์ คณฑา, และ ภัทรานิษฐ์ จองแก. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 231-247.
สำนักงานอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. https://rh.anamai.moph.go.th/th/department-yearly-report/ download/?did=207441&id=82926&reload=
อัจฉราพรรณ สอนจันทร์, สุทิน ชนะบุญ, และ ลำพึง วอนอก. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 60-71.
Bronfenbrenner, U. (1986). Ecology of the family as a context for human development: Research perspectives. Developmental Psychology, 22(6), 723-742.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.
Reddy, J., Mistry, J., & Jacobs, F. (2017). Rapid repeat birth: Intersections between meaning-making and situational support among multiparous adolescent mothers. Journal of Adolescent Research, 32(6), 696-718.
Talungchit, P., Lertbunnaphong, T., & Russameecharoen, K. (2017). Prevalence of repeat pregnancy including pregnancy outcome of teenage women. Siriraj Medical Journal, 69(6), 363-368.
Vamos, C. A., Thompson, E. L., Logan, R. G., Griner, S. B., Perrin, K. M., Merrell, L. K., & Daley, E. M. (2020). Exploring college students’ sexual and reproductive health literacy. Journal of American College Health, 68(1), 79-88.
World Health Organization. (2017). Fact sheet on Sustainable Development Goals (SDGs): health targets sexual and reproductive health. https://apps.who.int/iris/ bitstream/handle/10665/340880/WHO-EURO-2017-2386-42141-58055-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
World Health Organization. (2018). Adolescent Pregnancy. http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy