ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบตามเกณฑ์ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลแก่งกระจาน

Main Article Content

มุกดา สนจีน
อังสินี กันสุขเจริญ

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตร โรงพยาบาลแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้ากว่า 12 สัปดาห์และไม่ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพที่มาคลอดบุตร โรงพยาบาลแก่งกระจาน ระหว่าง 1 ตุลาคม 2564- 30 กันยายน 2565 จำนวน 102 คน เก็บรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างตามกรอบแนวคิดทฤษฎี PRECEDE Model ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝากครรภ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .78 แบบสอบถามทัศนคติต่อการฝากครรภ์ การรับรู้โอกาสเสี่ยง รับรู้ประโยชน์ และรับรู้อุปสรรคของการฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบตามเกณฑ์ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84, .84, .84 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์


          ผลการวิจัยพบว่า เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพเมื่ออายุครรภ์ 13-20 สัปดาห์ ร้อยละ 70.59 และอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ ร้อยละ 29.41 ปัจจัยรายได้ของครอบครัวต่อเดือน และการรับรู้โอกาสเสี่ยงมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการมาฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบตามเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (gif.latex?\fn_cm&space;^{x}2 = 6.45, 5.14; Cramer’V = .25, .22 ตามลำดับ)


          ผลการวิจัยนี้ นำไปในการพัฒนาช่องทางการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบตามเกณฑ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความจำเป็นของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และครบตามเกณฑ์ รวมทั้ง จัดบริการเชิงรุกพัฒนาเครือข่ายคลินิกฝากครรภ์คุณภาพลงสู่ชุมชน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และจัดบริการสนับสนุนพาหนะในการเดินทางมารับบริการฝากครรภ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565ข). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). สามลดา.

จันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2560). การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีในระยะตั้งครรภ์. สยามพิมพ์นานา.

ฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย. (2565, 25 ตุลาคม). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. https://dashboard.anamai.moph.go.th/ministry?year=2021

ฐิติมา หาญสมบูรณ์. (2565). การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(1), 23-33.

มรกต สุวรรณวนิช. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต4-5, 39(4), 648-654.

โรงพยาบาลแก่งกระจาน. (2565). รายงานผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลแก่งกระจาน ปีงบประมาณ 2565. โรงพยาบาลแก่งกระจาน.

เรณู ศรีสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสนิคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สินาภรณ์ กล่อมยงค์, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, และ วรรณี เดียวอิศเรศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการฝากครรภ์คุณภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 41-56.

สุวิมล สุรินทรัพย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่โซนตะวันชิงพลบ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หทัยรัตน์ รังสรรค์สฤษฎ์. (2564, 9 เมษายน). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้ากว่า 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในสถานบริการของรัฐเขตอำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต. https://www.vachiraphuket.go.th/articles/research/การมาฝากครรภ์ล่าช้า

อนุสรา ก๋งอุบล. (2560). การประเมินผลการฝากครรภ์ ภาวะสุขภาพมารดาและทารก อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี . วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(1), 109-119.

อังคณา สูงส่งเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการฝากครรภ์ ล่าช้าในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร, 1(2), 13-23.

Belayneh, T., Adefris, M., & Andargie, G. (2014). Previous early antenatal service utilization improves timely booking: Cross-sectional study at university of Gondar hospital, Northwest Ethiopia. Journal of Pregnancy, 2014, Article 132494. http://dx.doi.org/10.1155/2014/132494

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. McGraw-Hill

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health Education Quarterly, 15(2), 175-183.

Tariku, A., Melkamu, Y., & Kebede, Z. (2010). Previous utilization of service does not improve timely booking in antenatal care: cross sectional study on timing of antenatal care booking at public health facilities in Addis Ababa. Ethiopian Journal of Health Development, 24(3), 226-233.

World Health Organization. (2018). WHO recommendations on antenatal care for a positive pregnancy experience: Summary. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/259947/WHO-RHR-18.02-eng.pdf

Xaverius, P., Alman, C., Holtz, L., & Yarber, L. (2016). Risk factors associated with very low birth weight in a large urban area, stratified by adequacy of prenatal care. Maternal and Child Health Journal, 20(3), 623-629.