การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยเสมือนในสถานการณ์จำลอง: การสอนทักษะการประเมินสุขภาพ

Main Article Content

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
รวีวรรณ แก้วอยู่
พงษ์ศักดิ์ ป้านดี

บทคัดย่อ

          การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ช่วยฝึกทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับความจริง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นการฝึกทักษะความชำนาญภายใต้การดูแลของผู้สอน ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความสมจริง การแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึก รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้เรียน การบูรณาการความรู้จากภาคทฤษฎีและการฝึกทักษะการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ผู้ป่วยเสมือน ในสถานการณ์จำลอง ซึ่งเป็นบุคคลใด ๆ ก็ตามที่ได้รับการฝึกหัดอย่างถูกต้องในการแสดงบทบาทตามที่กำหนดได้อย่างสมจริงและทำซ้ำได้ จึงเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในสถานการณ์ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยจริง ภายใต้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัย และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ ทั้งทักษะการพยาบาล การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย


          บทความนี้ ได้นำเสนอการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยเสมือนในสถานการณ์จำลอง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด NLN Jeffries Simulation Theory ในด้านบริบท ภูมิหลัง การออกแบบ ประสบการณ์จำลอง และผลลัพธ์การเรียนรู้ รวมทั้ง นำเสนอกรณีตัวอย่างสำหรับการสอนทักษะการประเมินสุขภาพ ทั้งในระยะการเตรียมการสอน ระยะสอน และระยะประเมินผล ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกทักษะการประเมินสุขภาพได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประทุม สร้อยวงค์, เบญจมาศ สุขสถิตย์, ทศพร คำผลศิริ, และ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. (2558). การใช้ผู้ป่วยจำลองในการศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(3), 289-296.

สมจิตต์ สินธุชัย, และ กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.

Andrea, J., & Kotowski, P. (2017). Using standardized patients in an undergraduate nursing health assessment class. Clinical Simulation in Nursing, 13(7), 309-313.

Cowperthwait, A. (2020). NLN/Jeffries simulation framework for simulated participant methodology. Clinical Simulation in Nursing, 42, 12-21.

Hill, B. (2017). Research into experiential learning in nurse education. British Journal of Nursing, 26(16), 932-938.

Jeffries, P. R. (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating: Simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing education perspectives, 26(2), 96-103.

Jeffries, P. R., Rodgers, B., & Adamson, K. (2015). NLN Jeffries simulation theory: Brief narrative description. Nursing Education Perspectives, 36(5), 292-293.

Keiser, M. M., & Turkelson, C. (2017). Using students as standardized patients: Development, implementation, and evaluation of a standardized patient training program. Clinical Simulation in Nursing, 13(7), 321-330. http://dx.doi.org/10.1016/j.ecns.2017.05.008.

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2009). Experiential learning theory: A dynamic, holistic approach to management learning, education and development. In Armstrong, S. J. & Fukami, C. (Eds.), The SAGE handbook of management learning, education and development (pp.42-68). Sage.

Lewis, K. L., Bohnert, C. A., Gammon, W. L., Hölzer, H., Lyman, L., Smith, C., Thompson, T. M., Wallace, A. & Gliva-McConvey, G. (2017). The association of standardized patient educators (ASPE) standards of best practice (SOBP). Advances in Simulation, 2(10), 1-8.

Luctkar-Flude, M., Wilson-Keates, B., & Larocque, M. (2012). Evaluating high-fidelity human simulators and standardized patients in an undergraduate nursing health assessment course. Nurse Education Today, 32(4), 448-452.

McIntosh, C. E., Thomas, C., & Edwards, J. A. (2018). A standardized patient and faculty’s viewpoint on working together on an autism spectrum disorder simulation. Journal of Nursing Education and Practice, 8(7), 91-96.

Muckler, V. C. (2017). Exploring suspension of disbelief during simulation-based learning. Clinical Simulation in Nursing, 13(1), 3-9.

Slater, L. Z., Bryant, K. D., & Ng, V. (2016). Nursing student perceptions of standardized patient use in health assessment. Clinical Simulation in Nursing, 12(9), 368-376

Tuzer, H., Dinc, L., & Elcin, M. (2016). The effects of using high-fidelity simulators and standardized patients on the thorax, lung, and cardiac examination skills of undergraduate nursing students. Nurse Education Today, 45, 120-125. http://dx.doi.org/10.1016/j.nedt.2016.07.002