ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม

Main Article Content

สุปรียา สัมฤทธิ์วงศ์
นิตยา เพ็ญศิรินภา
พรทิพย์ กีระพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยเกี่ยวกับการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงาน และ 3) อิทธิพลของปัจจัยในการทำนายภาวะหมดไฟในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลนครปฐมที่ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 110 คน โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .79 - .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า


1. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐมมีภาวะหมดไฟในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 52.80, SD = .68) มีอายุเฉลี่ย 39.81 ปี ระยะเวลาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่น้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 33.60 จจัยด้านองค์การอยู่ในระดับมาก (M = 3.60, SD = .87) และปัจจัยเกี่ยวกับทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.24, SD = .68)


2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (r = -.27, -.29) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ การพัฒนาอาชีพ บทบาทในองค์กร และสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (r = -.54 , -.45 และ -.43) และปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน ได้แก่ ลักษณะงาน และด้านภาระงาน มีความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับปานกลาง (r = -.58, -.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลักษณะงาน การพัฒนาอาชีพ และระยะเวลาการปฏิบัติงาน (Beta= -.58, -.23, และ -.26 ตามลำดับ) ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะหมดไฟของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐมได้ร้อยละ 42


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารควรทำแผนความก้าวหน้าในอาชีพของพยาบาลวิชาชีพให้ชัดเจน และสอดคล้องกับระยะเวลาปฏิบัติงาน รวมทั้งปรับปรุงลักษณะงานให้เอื้อต่อการทำงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(15), 58-74.

จุฑารัตน์ แซ่ล้อ, และ สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 95-103.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). เทพเนรมิตการพิมพ์.

นันทาวดี วรวสุวัส, ลักษณา สกุลทอง, กุลิสรา พิศาลเอก, มนัสพงษ์ มาลา, และ ปราณี เนาวนิตย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจป้องกันภาวะหมดไฟดูแลใจคนทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 (EPI-BP Model) ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 603-613.

ณัฐนันท์ ฤทธิ์สำเร็จ, ธีระวุธ ธรรมกุล, และ ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ หมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสาร สาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(1), 86-99.

บุญช่วย ศิลาหม่อม, วรรณี เดียวอิศเรศ, และ อารีรัตน์ ขำอยู่. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 36(1), 62-71.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม. (2563). แบบประเมินตนเองการกำกับวิชาชีพพยาบาล. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม.

วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ, บุญเติม แสงดิษฐ, และ ทศพร วิมลเก็จ. (2561). ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(3), 163-172.

อรุณรัตน์ คันธา, เดช เกตุฉ่ำ, กฤษดา แสวงดี, และ ตวงทิพย์ ธีระวิทย์. (2556). การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 28(3), 19-31.

อมรรัตน์ จันโยธา, สุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, และ สุคนธา ศิริ. (2560). ศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 166-174.

Douglas, S., & Roberts, R. (2020). Employee age and the impact on work engagement. Strategic HR Review, 19(5), 209-213. https://doi.org/10.1108/SHR-05-2020-0049

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B, & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis (7th ed.) Pearson Education.

Hu, D., Kong, Y., Li, W., Han, Q., Zhang, X., Zhu, L. X., Wan, S. W., Liu, Z., Shen, Q., Yang, J., He, H., & Zhu, J. (2020). Frontline nurses’ burnout, anxiety, depression, and fear statuses and their associated factors during the COVID-19 outbreak in Wuhan, China: A large-scale cross-sectional study. eClinicalMedicine, 24, Article 100424. https://doi.org/10.1016/j.eclinm.2020.100424

Khasne, R. W., Dhakulkar, B. S., Mahajan, H. C., & Kulkarni, A. P. (2020). Burnout among healthcare workers during COVID-19 pandemic in India: results of a questionnaire-based survey. Indian Journal of Critical Care Medicine: Official Publication of Indian Society of Critical Care Medicine, 24(8), 664 -671.

Kitaoka, K., & Masuda, S. (2013). Academic report on burnout among Japanese nurses. Japan Journal of Nursing Science, 10(2), 273-279.

Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). The measurement of experienced burnout. Journal of Organizational Behavior, 2(2), 99-113.

Maslach, C., Schaufeli, W. B., & Leiter, M. P. (2001). Job burnout. Annual review of psychology, 52(1), 397-422.

Maslach, C., & Leiter, M. P. (2008). The truth about burnout: How organizations cause personal stress and what to do about it. John Wiley & Sons.

Tan, B. Y., Kanneganti, A., Lim, L. J., Tan, M., Chua, Y. X., Tan, L., Ooi, S. B. and et al. (2020). Burnout and associated factors among health care workers in Singapore during the COVID-19 pandemic. Journal of the American Medical Directors Association, 21(12), 1751-1758.

World Health Organization. (2016). Global strategy on human resources for health: Workforce 2030. World Health Organization.

World Health Organization. (2019). Burn-out an “occupational phenomenon”: International classification of diseases. https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.