ประสบการณ์ความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในและหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานว่าเป็นผู้ที่มีความสมดุลชีวิตและการทำงานที่ดีและยินดีให้ข้อมูล โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อยตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า
1. พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการและหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ความหมายของความสมดุลชีวิตและการทำงานตามการรับรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า เป็นความสุขที่เกิดจากดุลยภาพของความสุขและความพึงพอใจในชีวิตการทำงานและครอบครัว ดุลยภาพในการทำหน้าที่และการมีส่วนร่วมของการทำงานและครอบครัว เกิดความขัดแย้งในบทบาทที่ทำงานและครอบครัวน้อยที่สุด และดุลยภาพด้านเวลาของการทำงานและครอบครัว
2. ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความสมดุลของชีวิตและการทำงานมี 7 ประเด็น ดังนี้ 1) ความพึงพอใจในการทำงาน 2) ความพึงพอใจในชีวิต 3) การทำหน้าที่ของครอบครัว 4) การเป็นพนักงานที่ดี 5) ความขัดแย้งในบทบาทเกิดน้อยที่สุด 6) ความพอเพียงด้านเวลา และ 7) การสนับสนุนจากองค์กร
การค้นพบมุมมองความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลวิชาชีพนี้ เป็นข้อมูลให้กับองค์กรทางการพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาล ร่วมกันวางแผนการจัดนโยบายส่งเสริมคุณภาพชีวิตและนโยบายความสมดุลชีวิตและการทำงานเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพมีความสมดุลชีวิตและการทำงานที่ดีตรงกับความต้องการของพยาบาลวิชาชีพต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จรัมพร โห้ลำยอง, ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, และ มะลิวัลย์ ขันเล็ก. (2560). งาน ครอบครัว สังคม: สมดุลชีวิตกับการทำงานที่มากกว่าการจัดสรรเวลาของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต. วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 19(2), 96-102.
ปริณดา สมควร. (2557). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการอำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, วินัย ไตรนาทถวัลย์, เอกกมล ไชยโม, และ ภราดร ยิ่งยวด. (2564). อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงานและความพึงพอใจในงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 344-352.
ปิยสุนีย์ ชัยปาณี, เอกสิทธิ์ สนามทอง, อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล, และ ดวงเดือน จันทร์เจริญ. (2563). กลยุทธ์ทางเลือกการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรในองค์กรที่มีสรรถนะสูงในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 88-104.
ปัณยนุช พิมใจใส, มัณฑนา เทวาโภคิณกุล, และ อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล. (2565). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2), 13-24.
ไพรวัลย์ รัตนบัญชร, ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, สาโรจน์ สันตยากร, และ ปกรณ์ ประจัญบาน. (2557). ปัจจัยจำแนกการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 8(3), 104-117.
เรียม นมรักษ์. (2564). สมดุลชีวิตและการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(3), 176-186.
สวรรญา อินทรสถาพร, อรวรรณ แก้วบุญชู, และ เพลินพิศ บุณยมาลิก. (2563). สมดุลชีวิตและงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของพยาบาลที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูงแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 129-143.
หทัยทิพย์ ลิ้วสงวนกุลธร. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลชีวิตกับการทางาน: กรณีศึกษา สถาบันคุ้มครองเงินฝาก [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อทิตยา เล็กประทุม, และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 174-217.
Bouwmeester, O., Atkinson, R., Noury, L., & Ruotsalainen, R. (2021). Work-life Balance policies in high performance organisations: A comparative interview study with millennials in Dutch consultancies. German Journal of Human Resource Management, 35(1), 6-32.
Clark, S. C. (2000). Work/family border theory: A new theory of work/family balance. Human Relations, 53(6), 747-770.
Clark, S. C. (2001). Work cultures and work/family balance. Journal of Vocational Behaviour, 58(3), 348-365.
Dex, S., & Bond, S. (2005). Measuring work-life balance and its covariates. Work, Employment and Society, 19(3), 627-637.
Graneheim, U. H., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse education today, 24, 105-112.
Greenhaus, J. H., Collins, K. M., & Shaw, J. D. (2003). The relation between work–family balance and quality of life. Journal of Vocational Behavior, 63(3), 510-531.
Hutton, A. (2005). The case for work/ life balance: Closing the gap between policy and practice. Hudson Highland Group.
Hyman, J. & Summers, J. (2004). Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Personnel Review, 33(4), 418- 429.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Sage.
Nanjundeswaraswamy, T. S. (2022). Nurses quality of work life: Scale development and validation. Journal of Economic and Administrative Sciences, 38(2), 371-394.
World Health Organization. (2015). Global strategy on human resources for health: workforce 2030. World Health Organization.