รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลไทย: การทบทวนขอบเขต

Main Article Content

รพีพรรณ นาคบุบผา
ยุคลธร แจ่มฤทธิ์
ชณุตพร สมใจ
ปาริฉัตร อารยะจารุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบการทบทวนขอบเขตนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลไทย โดยรายงานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565 สืบค้นจากฐานข้อมูล PubMed, ProQuest, Medical Library, Science Direct, Cochrane Library, TDC-ThaiLIS, TCI ซึ่งพบรายงานวิจัยผ่านการคัดกรอง จำนวน 6 เรื่อง 


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 66.67 แบ่งกลุ่มย่อยในสถานการณ์จำลองระดับง่าย จำนวน 7 – 8 คน ร้อยละ 33.33 และแบ่งกลุ่มย่อยในสถานการณ์จำลองระดับยาก จำนวน 4 - 5 คน ร้อยละ 50.00 รูปแบบการเรียนการสอนมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการเตรียม เป็นการเตรียมโจทย์สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทั้งระดับยากและระดับง่าย ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรายวิชาตามหลักสูตร 2) ระยะการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นเตรียมนักศึกษา ส่วนใหญ่ใช้เวลา 15 นาที และ 60 นาที ขั้นปฏิบัติในสถานการณ์ ใช้เวลา 15-40 นาที และขั้นสรุปการเรียนรู้ ใช้เวลา 15 - 60 นาที และ 3) ระยะการประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ทดสอบความรู้หลังทดลองทันที ร้อยละ 83.33 และมีการติดตามทดสอบความรู้หลังทดลอง 2 สัปดาห์ ร้อยละ 16.67 ผลลัพธ์จากการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ร้อยละ 83.33  ความรู้ ร้อยละ 50.00 ความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติการพยาบาล และทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ร้อยละ 33.33 ตามลำดับ


รูปแบบการเรียนการสอนยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งด้าน กิจกรรม ระยะเวลา และการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม และระยะเวลาที่เหมาะสมทั้ง 3 ระยะ รวมทั้ง การสร้างโจทย์สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงในการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ในทักษะต่าง ๆ ของการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ กุลชาติ, นิตยา พันธ์งาม, จตุพร กั้วศรี, สมสกูล นีละสมิต, ทิวาวรรณ เทพา, ชลรดาก์ พันธุชิน, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ, และ ฐิฏิ สังวรวงษ์พนา. (2565). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์ ต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 45(1), 112-123.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19. https://www.ops.go.th/images/2563/muaAdmin/ corona/COVID_3.pdf

ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2563. (2563, 1 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 280 ง. หน้า 36-46. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/normal2563(1).PDF

ดวงกมล หน่อแก้ว, มนชยา ก้างยาง, พรรณวดี บูรณารมย์, จงลักษณ์ ทวีแก้ว, นวพล แก่นบุปผา, และ ไวยพร พรมวงค์. (2562).ผลของโปรแกรมการสอนโดยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูงในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อความรู้ ทักษะปฏิบัติและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 53-65.

ตรีชฎา ปุ่นสำเริง,สุพรรณี กัณหดิลก, รุ่งรวี ประเสริฐศรี, และ ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานและสถานการณ์เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิกและทักษะการตัดสินทางคลินิก ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 14-32.

พัทธวรรณ ชูเลิศ, มนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์, อ้อมใจ พลกายา, รัชนี ครองระวะ, และ หยาดชล ทวีธนาวณิชย์. (2564). รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 121-133.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, และ ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 1-14.

ศราวุธ เรืองสวัสดิ์, และ พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์. (2564). การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 101-114.

สุดารัตน์ วุฒศักดิ์ไพศาล, ศิริพร ชุดเจือจีน, และ เขมจิรา ท้าวน้อย. (2563). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 74-81.

สมจิตต์ สินธุชัย, และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 18(1), 29-38.

Alshutwi, S., Alsharif, F., Shibily, F., Wedad M., A., Almotairy, M. M., & Algabbashi, M. (2022). Maintaining clinical training continuity during COVID-19 pandemic: Nursing students’ perceptions about simulation-based learning. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(4), Article 2180. https://doi.org/10.3390/ijerph19042180

Arksey, H., & O’Malley, L. (2005). Scoping studies: Towards a methodological framework. International Journal of Social Research Methodology: Theory & Practice, 8(1), 19-32. https://doi.org/10.1080/1364557032000119616

Cordeau, M. A. (2013). Teaching holistic nursing using clinical simulation: A pedagogical essay. Journal of Nursing Education and Practice, 3(4), 40-50.

Hegland, P. A., Aarlie, H., Strømme, H., & Jamtvedt, G. (2017). Simulation-based training for nurses: Systematic review and meta-analysis. Nurse Education Today, 54, 6-20. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2017.04.004

Jefferies P. R. (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing Education Perspectives, 26, 96-103.

MacKinnon, K., Marcellus, L., Rivers, J., Gordon, C., Ryan, M., & Butcher, D. (2017). Student and educator experiences of maternal-child simulation-based learning: A systematic review of qualitative evidence. JBI Database of Systematic Reviews and Implementation Reports, 15(11), 2666-2706. https://doi.org/10.11124/jbisrir-2016-003147

Moher, D., Liberati, A., Tetzlaff, J., Altman, D. G., & PRISMA Group*. (2009). Preferred reporting items for systematic reviews and meta-analyses: the PRISMA statement. Annals of Internal Medicine, 151(4), 264-269.

Pansuwan, K., & Klankhajhon, S. (2021). The effect of using simulation-based learning on nursing performances of early postpartum hemorrhage in nursing students. Jurnal Keperawatan Padjadjaran, 9(3), 175-180. https://doi.org/10.24198/jkp.v9i3.1682

The Joanna Briggs Institute. (2014). Joanna Briggs Institute reviewers’ manual 2014 edition. https://nursing.lsuhsc.edu/JBI/docs/ReviewersManuals/ReviewersManual.pdf

The Joanna Briggs Institute. (2017a). Checklist for randomized controlled trials. https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI_RCTs_Appraisal_tool2017_0.pdf

The Joanna Briggs Institute. (2017b). Checklist for quasi-experimental studies (non-randomized experimental studies). https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI_Quasi-Experimental_Appraisal_Tool2017_0.pdf

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general). https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general