ประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักในการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

วิลาวัณย์ กล้าแรง
อารยา จิรมนัสวงศ์
พยอม ตัณฑจรรยา
ธัญดา อินเงิน
ณัชชา พลวงงาม
รุจิสรร สุระถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักในการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยจิตเภทที่เคยรักษาที่โรงพยาบาลสุรินทร์ คัดเลือกแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติ ดังนี้ 1) เป็นญาติที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย 2) อายุ 30 ปีขึ้นไป 3) ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอาการดีไม่เข้ารับการรักษาซ้ำเกิน 5 ปี 4) มีประสบการณ์ชีวิตที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลับเป็นซ้ำ 5) มีอาชีพที่มีรายได้เพียงพอ 6) มีทัศนคติเชิงบวก จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามแนวทางการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจนได้ข้อมูลอิ่มตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักในการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ 1) ดูแลด้วยจิตกุศลให้ผู้ป่วยได้แสดงศักยภาพ ไม่ขาดยาไม่ป่วยซ้ำเป็นความสำเร็จ 2) อุปสรรคที่ทำให้ไม่สำเร็จคือ ผู้ดูแลไม่มีวิธีจัดการผู้ป่วยและเครียด 3) ผ่านอุปสรรคมาได้ เพราะมีตัวช่วยและกำลังใจที่ดี และ 4) เมตตาผู้ป่วยจิตเภท และให้การช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็น


ทีมสุขภาพจิต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำผลวิจัยไปพัฒนาผู้ดูแลหลักให้ดีขึ้น และควรวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบหรือโปรแกรมการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้กำเริบซ้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานประจำปีของกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2558. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ข้อมูลจากระบบระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2564. https://dmh.go.th/report/datacenter/dmh/

กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์. (2565). เอกสารรายงานตัวชี้วัด เฉพาะโรคหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์. กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์.

ขวัญสุดา บุญทศ, อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, และ สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2556). การ สนับสนุนทางสังคมต่อผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 89-100.

เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และ โสภิณ แสงอ่อน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 103-122.

จิรากร กันทับทิม, และ เพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2559). ผลของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(3), 30-41.

ชัชชษา เพ็งเกร็ด. (2564). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(3), 1-16.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). อมรินทร์.

ทวีศักดิ์ กสิผล, พิจิตรา ชุณหฐิติธรรม, ชฎาภา ประเสริฐทรง, ชนิกา เจริญจิตต์กุล, ศิริยุพา นันสุนานนท์, และ อำพัน จารุทัสนางกูร. (2563). ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 102-115.

นลิน ดวงปัญญา, และ เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2563). ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(2), 43-54.

ปนิดา พุ่มพุทธ, และ ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. (2564). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท เพื่อลดการรับรู้ตราบาป. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(3), 215-224.

ไพลิน ปรัชญคุปต์, วรรณมณี รวมจิตร, พรชนก ทานา, และ ธนิต โคตรมะ. (2558). กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ, และ รัชนีกร อุปเสน. (2562). ปัจจัยทํานายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลศรีธัญญา. พยาบาลสาร, 47(4), 66-75.

ศิริพร บูรณกุลกิจการ, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, และ เวทิส ประทุมศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยปกป้องกับพลังสุขภาพจิตในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(1), 24-35.

สุดาพร สถิตยุทธการ. (2559). การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(3), 1-15.

Kulhara, P., Kate, N., Grover, S., & Nehra, R. (2012). Positive aspects of caregiving in schizophrenia: A review. World Journal of Psychiatry, 2(3), 43-48.

Meng, J., & Wu, J. (2020). The experiences of caregivers in caring persons with Schizophrenia - A descriptive literature review [Unpublished Bachelor Degree]. Lishui University. https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2: 1432923/FULLTEXT01.pdf

Shiraishi, N., & Reilly, J. (2019). Positive and negative impacts of schizophrenia on family caregivers: A systematic review and qualitative meta-summary. Social psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 54(3), 277-290.