การพัฒนารูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

วรารก์ หวังจิตต์เชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ 2) ศึกษาประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อรูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารักษาที่ รพ.สต. จำนวน 80 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน เพื่อเข้ารับบริการตามรูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน เพื่อเข้ารับการบริการตามรูปแบบเดิม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค สำหรับที่พัฒนาขึ้น เท่ากับ .91 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแคว์และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคไวรัสโคโรนา 2019 กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง และให้กำลังใจ 2) การติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเจาะเลือดติดตามค่าระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้แพทย์/ พยาบาลวิชาชีพพิจารณาปรับยาให้เหมาะสม 3) ระบบส่งยาไปให้ผู้ป่วยที่บ้าน และ 4) การให้คำแนะนำ และติดตามการปฏิบัติตัวทางโทรศัพท์และแอปพลิเคชันไลน์


2. ประสิทธิผลของรูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่า ผู้ป่วยที่มารับบริการมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม ในด้านการรับประทานอาหาร และการรับประทานยา รวมทั้ง มีระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่าก่อนมารับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่มารับบริการตามปกติ และมีความพึงพอใจมากต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก (M = 2.80, SD = .40)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอื่นๆ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจาย COVID-19. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงกรมควบคุมโรค. https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia /int_protection.php

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2559 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เกวลิน ชื่นเจริญสุข. (2563). ประสิทธิผลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บ้านในสถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019. กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

จรณิต แก้วกังวาล, และ ประตาป สิงหศิวานนท์. (2554) ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. ใน พรรณี ปิติสุทธิธรรม, และ ชยันต์ พิเชียรสุนทร (บ.ก.), ตำราการวิจัยทางคลินิก (หน้า 107-143). คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุรีพร คงประเสริฐ (บ.ก.). (2558). แนวพัฒนาการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปีงบประมาณ 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

วิชุดา จันทะศิลป์. (2565). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน: ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(2), 1-9.

วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ. (2564, พฤษภาคม 21). โรคเบาหวานกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=561

วรรณรา ชื่นวัฒนา, และ ณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 163-170.

ศุภมิตร ปาณธูป. (2562). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผิดนัด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 23-34.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. อรุณการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2565). สถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานสถานการณ์ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 17 เมษายน 2563. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports-(archive)

อำนาจ บุญเครือชู, และ ปรียากมล ภาณุวณิชชากร. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลแสนขัน. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 9(2), 104-121.

Best, J. (1977). Research in education. Prentice Hall.

Bode, B., Garrett, V., Messler, J., McFarland, R., Crowe, J., Booth, R., & Klonoff, D. C. (2020). Glycemic characteristics and clinical outcomes of COVID-19 patients hospitalized in the United States. Journal of Diabetes Science and Technology, 14(4), 813-821.

Dey, P. K., & Hariharan, S. (2006). Integrated approach to healthcare quality management: A case study. The TQM Magazine, 18(6), 583-605.

Faghir-Gangi, M., Moameri, H., Abdolmohamadi, N., & Nematollahi, S. (2020). The prevalence of type 2 diabetes in patients with COVID-19: A systematic review and meta-analysis. Clinical Diabetology, 9(5), 271-278.

Gomes, L. M. X., de Andrade Barbosa, T. L., Vieira, E. D. S., Vieira, L. J. T., Castro, K. P. A. N., Pereira, I. A., Caldeira, A. P., Torres, H. D., & Viana, M. B. (2015). Community healthcare workers’ perception of an educational intervention in the care of patients with sickle cell disease in Brazil. Mediterranean Journal of Hematology and Infectious Diseases, 7(1), 403-418.

Parohan, M., Yaghoubi, S., Seraji, A., Javanbakht, M. H., Sarraf, P., & Djalali, M. (2020). Risk factors for mortality in patients with Coronavirus disease 2019 (COVID-19) infection: A systematic review and meta-analysis of observational studies. The Aging Male, 23(5), 1416-1424.

th World Health Assembly. (‎2016)‎. Strengthening integrated, people-centred health services. World Health Organization. https://apps.who.int/iris/handle/10665/252804