ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนาน ของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Main Article Content

ฤดี กุลภัทร์แสงทอง
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
วิญญ์ทัญญู บุญทัน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีการรับประทานยาตั้งแต่ 5 ชนิดขึ้นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .77 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน 


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 1.98, SD = .35) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .39, .45, .24, p < .01) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -43, p < .01)


ผลการวิจัยนี้ สามารถนำข้อมูลไปจัดกิจกรรมสร้างเสริมพฤติกรรมของผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานที่ถูกต้องและปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และ สำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 20(1), 31-39.

กาญจนา ปัญญาธร, และ ณัฏฐากุล บึงมุม. (2562). พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนจอมศรีอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(2), 112-127.

กัญญา จันทร์ใจ, ธิราภรณ์ จันทร์ดา, และ อรสา พันธ์ภักดี. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอส แอล อี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(1), 60-72.

คลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด จังหวัดสมุทรสาคร. (2564ก). รายงานผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด จังหวัดสมุทรสาครประจำปีงบประมาณ 2563. คลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด จังหวัดสมุทรสาคร.

คลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด จังหวัดสมุทรสาคร. (2564ข). เวชระเบียนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. คลินิกหมอครอบครัวตำบลตลาด จังหวัดสมุทรสาคร.

ชัชฎาภรณ์ กมขุนทด. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิริยา อินทนา, กนิพันธุ์ ปานณรงค์, หยาดชล ทวีธนาวณิชย์, ปาริชาต ญาตินิยม, และ ลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์. (2564). การส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ: แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 17-22.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยโปรแกรม G*Power. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยาทิพย์ แสนแดง, และ ชื่นจิตร โพธิสัพท์สุข. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36(3), 33-41.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล, และ วรัญญา เนียมขำ. (2559). การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(39), 97-108.

วรนันท์ คล้ายหงส์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, และ วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 65-75.

วิภาภรณ์ วังวรตระกูล, นันทวัน สุวรรณรูป, และ กนกพร หมู่พยัคฆ์. (2560). ปัจจัยทำนายการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 131-139.

วินัดดา ดรุณถนอม, จิตรลดา อุทัยพิบูลย์, และ ปวีณ ตั้งจิตต์พิสุทธิ์. (2562). ความร่วมมือและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในตำบลหัวงุ้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 19-27.

ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. (2561). การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 41(1), 95-104.

ศศิธร รุ่งสว่าง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(35), 6-23.

ศรัทธา ประกอบชัย, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, และ พีระ บูรณะกิจเจริญ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(2), 43-51.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. ธนาเพลส.

สิริมาส วงศ์ใหญ่, วันทนา มณีศรีวงศ์กุล, และ พรรณวดี พุธวัฒนะ. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน. วารสารวิยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(2), 80-90.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. (2564). อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ. http://skno.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และ นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ. (2558). พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(1), 2-14.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Prentice-Hall.

Miller, W. (2013). Statistics and measurement concepts with open stat. Springer.

Nechba, R. B., Kadiri, M. E. M. B., Bennani-Ziatni, M., Zeggwagh, A. A., & Mesfioui, A. (2015). Difficulty in managing polypharmacy in the elderly: Case report and review of the literature. Journal of Clinical Gerontology and Geriatrics, 6(1), 30-33.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2015). Health promotion in nursing practice (7th ed.). Pearson Education.

Touhy, T. A., & Jett, K. F. (2021). Ebersole and Hess' gerontological nursing & healthy aging-E-book. Elsevier.

Vatcharavongvan, P., & Puttawanchai, V. (2017). Polypharmacy, medication adherence and medication management at home in elderly patients with multiple non-communicable diseases in Thai primary care. Family Medicine & Primary Care Review, 19(4), 412-416. https://doi.org/10.5114/fmpcr.2017.70818

Lee, V. W., Pang, K. K., Hui, K. C., Kwok, J. C., Leung, S. L., Yu, D. S. F., & Lee, D. T. F. (2013). Medication adherence: is it a hidden drug‐related problem in hidden elderly?. Geriatrics & Gerontology International, 13(4), 978-985.

World Health organization. (2021). Aging and health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health