ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ที่มีระดับความเสี่ยงสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วิไลวรรณ คมขำ
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
นพนัฐ จำปาเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 130 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีค่าค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.75, SD = .35) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลด้านสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = .55, .50, .63, .43) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (rs = -.53)


ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปพัฒนาระบบการติดตามประเมินความเสี่ยง สำหรับการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดระดับความเสี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ที่มีระดับความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2558). Thai CV risk score. https://www.rama.mahidol. ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, และ ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. (2558). การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

จรีรัตน์ สุทธิพัฒนางกูร, และ รัตน์ศิริ ทาโต, (2560).ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(2), 11-125.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ, และ ดวงกมล วัตราดุลย์. (2563). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจำเดือน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 27-45.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, อรุณ นุรักษ์เข, และ กิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 55-68.

พิภพ ดีแพ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, และ นพนัฐ จำปาเทศ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 46-59.

พิศดี มินศิริ, และ อัจฉรา สุขสำราญ. (2562). การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(พิเศษ), 69-79.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2564). อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ. https://pbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat

อารีส พลอยทรัพย์, วันเพ็ญ แก้วปาน, ปาหนัน พิชญภิญโญ, และ จุฑาธิป ศีลบุตร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(2), 49-58.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). Prentice-Hall.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.

Lim, B. C., Kueh, Y. C., Arifin, W. N., & Ng, K. H. (2021). Modelling knowledge, health beliefs, and health-promoting behaviours related to cardiovascular disease prevention among Malaysian university students. PLOS ONE, 16(4), Article e0250627. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0250627

Miller, W. (2013). Statistics and measurement concepts with open stat. Springer.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2015). Health promotion in nursing practice (7th ed.). Pearson Education.

Walker, S. N., Sechrist, K. R., & Pender, N. J. (1995). Health promotion model - Instruments to measure health promoting lifestyle: Health-Promoting Lifestyle Profile [HPLP II] (Adult version). http://hdl.handle.net/2027.42/85349

World Health Organization. (2021). Cardiovascular diseases (CVDs). http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular- diseases-(cvds)

Zafari, N., Asgari, S., Lotfaliany, M., Hadaegh, A., Azizi, F., & Hadaegh, F. (2017). Impact of hypertension versus diabetes on cardiovascular and all-cause mortality in Iranian older adults: results of 14 years of follow-up. Scientific Reports, 7(1), Article 14220. https://www.nature.com/articles/s41598-017-14631-2.pdf