ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อนต่อความรู้ในการปฏิบัติตัวและผลข้างเคียงภายหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในผู้สูงอายุ

Main Article Content

สุภาภรณ์ รัตนสิมากร
อัจฉรา คำมะทิตย์
วิชิตา วิชาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลโดยใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อนและ ผลข้างเคียงภายหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มเป่าลมร้อน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเตรียมความพร้อมร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดโดยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 48 คน แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกการวัดอุณหภูมิร่างกาย อาการหนาวสั่น และภาวะแผลไฟไหม้ และ 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลโดยใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบความแปรปรวนสำหรับการวัดซ้ำ การทดสอบที การทดสอบวิลคอกชัน และ แมน-วิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า


1. ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่เข้ารับการผ่าตัดโดยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ภายหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มเป่าลมร้อน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลโดยใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อน(M = 9.87, SD = .07) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 2.21, SD = .33) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 9.42, SD = .93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 2.27, p < .001)


2. ผลข้างเคียงภายหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป พบว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายระหว่างผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อน และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 11.06, p = .02) มีภาวะหนาวสั่นระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน (Z = -1.34, p = .09) แต่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Z = -2.97, p < .001) ในขณะที่ทั้งสองกลุ่มไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการมีแผลไฟไหม้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ใสบริสุทธิ์, ป่ารีด๊ะ บิลล่าเต๊ะ, และ จิราภา ไชยบัญดิษฐ์. (2562). แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและจัดการภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วิสัญญีสาร, 45(3), 104-110.

ฉลวย เหลือบรรจง, และ เนตรนภิศ จินดากร. (2560). แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 14-22.

ชวิกา พิสิฎฐศักดิ์, ธนิต วีรังคบุตร, กานต์พงษ์ ดีวงค์, และ เมธพร พรประเสริฐสุข. (2554). อุบัติการณ์และปัจจัยในการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำภายหลังผ่าตัด. วิสัญญีสาร, 37(2), 93-103.

ฐิติมา จำนงค์เลิศ, วรารัตน์ บุญณสะ, วราลักษณ์ บุญชัย, นุชนาถ ฤทธิสนธิ์, นุชสรา พานสัมฤทธิ์, และ นัทฐา โพธิโยทิน. (2555). อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยขณะผ่าตัด. วารสารสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย, 5(2), 19-30.

ปรเมศวร์ จิตถนอม, และ นรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2561). ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(5), 785-797.

ปิยมาน งามเจริญรุจี. (2564). การใช้ผ้าห่มฉุกเฉินเพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหนาวสั่นหลังการผ่าตัด. วารสารแพทย์เขต 4-5, 40(1), 125-135.

มนทร์ยศนนท์ ปารมีอนล, วัชรา ภูมิประหมัน, และ วารินี สาระไชย. (2563). ผลการให้ความอบอุ่นผู้ป่วยด้วยเครื่องให้ความอบอุ่นด้วยแรงลมก่อนเข้ารับ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกหรือข้อเข่าต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัดและภายหลังผ่าตัด. วิสัญญีสาร, 46(2), 88-95.

สาธร หมื่นสกุล, วัลภา คุณทรงเกียรติ, และ อาภรณ์ ดีนาน. (2556). ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนและอาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(4), 62-73.

สุปัญญา โพธิปัทมะ. (2561). พลศาสตร์การไหลเวียนเลือด เมื่อให้ความอบอุ่นร่างกายด้วยผ้าห่มมาตรฐาน และผ้าห่มประดิษฐ์. วารสารกรมการแพทย์, 43(2), 72-77.

หน่วยงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลอุดรธานี. (2564). รายงานประจำปี 2564 หน่วยงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลอุดรธานี. หน่วยงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลอุดรธานี.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิทยพัฒน์.

American Society of Anesthesiologists. (2014). ASA physical status classification system. Last approved by the ASA House of Delegates. https://www.asahq.org/resources/clinical-information/asa-physical-status-classification-system.

Buggy, D. J., & Crossley, A. W. A. (2000). Thermoregulation, mild perioperative hypothermia and post-anaesthetic shivering. British Journal of Anaesthesia, 84(5), 615-628.

Burns, S. M., Wojnakowski, M., Piotrowski, K., & Caraffa, G. (2009). Unintentional hypothermia: Implications for perianesthesia nurses. Journal of PeriAnesthesia Nursing, 24(3), 167-176.

Butwick, A. J., Lipman, S. S., & Carvalho, B. (2007). Intraoperative forced air-warming during cesarean delivery under spinal anesthesia does not prevent maternal hypothermia. Anesthesia & Analgesia, 105(5), 1413-1419.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum.

Frisch, N. B., Pepper, A. M., Jildeh, T. R., Shaw, J., Guthrie, T., & Silverton, C. (2016). Intraoperative hypothermia during surgical fixation of hip fractures. Orthopedics, 39(6), 1170-1177. https://doi.org/10.3928/01477447-20160811-04

Kasai, T., Hirose, M., Yaegashi, K., Matsukawa, T., Takamata, A., & Tanaka, Y. (2002). Preoperative risk factors of intraoperative hypothermia in major surgery under general anesthesia. Anesthesia & Analgesia, 95(5), 1381-1383.

Leventhal, H., & Johnson, J. E. (1983). Laboratory and field experimentation: Development of a theory of self-regulation. In P. J. Wooldridge, M. H. Schmitt, J. K. Skipper, & R. C. Leonard (Eds.), Behavioral science & nursing theory (pp.189- 262). Mosby.

Miyazaki, R., Hayamizu, K., & Hoka, S. (2017). Underbody forced-air warmer blanket is superior to overbody blanket in preventing hypothermia during laparoscopic donor nephrectomy. Middle East Journal of Anesthesiology, 24(1), 43-48.

Sadeghian, P., Duwig, C., Sköldenberg, O., Tammelin, A., Hosseini, A. R., & Sadrizadeh, S. (2021). Numerical investigation of the impact of warming blankets on the performance of ventilation systems in the operating room. Advances in Building Energy Research, 1-23. https://doi.org/10.1080/17512549.2021.2009911

Torossian, A. (2008). Thermal management during anaesthesia and thermoregulation standards for the prevention of inadvertent perioperative hypothermia. Best Practice & Research Clinical Anaesthesiology, 22(4), 659-668.

Yi, J., Lei, Y., Xu, S., Si, Y., Li, S., Xia, Z., Shi, Y., Gu, X., Yu, J., Xu, G., Gu, E., Yu, Y., Chen, Y., Jia, H., Wang, Y., Wang, X., Chai, X., Jin, X., Chen, J., ... & Huang, Y. (2017). Intraoperative hypothermia and its clinical outcomes in patients undergoing general anesthesia: National study in China. PLOS ONE, 12(6), Article 0177221. https://doi.org/10.1371/journal. pone.0177221

Yoo, J. H., Ok, S. Y., Kim, S. H., Chung, J. W., Park, S. Y., Kim, M. G., Cho, H. B., Song, S. H., Cho, C. Y., & Oh, H. C. (2021). Efficacy of active forced air warming during induction of anesthesia to prevent inadvertent perioperative hypothermia in intraoperative warming patients: Comparison with passive warming, a randomized controlled trial. Medicine, 100(12), Article 25235. http://dx.doi.org/10.1097/MD.0000000000025235

Young, V. L., & Watson, M. E. (2006). Prevention of perioperative hypothermia in plastic surgery. Aesthetic Surgery Journal, 26(5), 551-571.