ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

วันชัย สมใจเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น และปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 332 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .92 แบบสอบถามแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ เท่ากับ .75, .76, .81, .78, .82 และ .75 ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจ มีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์ ริชาร์ดสัน-20 เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.20 และมีพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นอยู่ในระดับสูง (M = 63.75, SD = 13.50)มรอบรู้สุขภาพโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .56, p < .01) ซึ่งทักษะการตัดสินใจมีขนาดความสัมพันธ์สูงสุด (r = .49, p < .01) และต่ำสุดในด้านการจัดการตนเอง (r = .29, p < .01) และปัจจัยทำนายทั้ง 2 ตัวแปร ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการตัดสินใจ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นได้ ร้อยละ 63.20 (R2 = .632, p <.01)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพทางเพศในวัยรุ่น ควรเน้นด้านการสื่อสารกับวัยรุ่นเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องและเหมาะสม และจัดกิจกรรมการส่งเสริมให้มีการตัดสินใจเลือกปฏิบัติพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี. http://hed.go.th/linkHed/362

เขตสุขภาพที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2562). สถานการณ์การดำเนินงานวัยรุ่น เขตสุขภาพที่ 5. https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2020/02-5005-20200214160603/dc2d7a31db164930d135a771e4f2915f.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2562). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศูนย์บริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลพรรณ อิศโร, ชนัญชิดา ดุษฎี ทูลศิริ, และ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 72-84.

นันทิวา สิงห์ทอง, ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่ม, วันฉัตร โสฬส, ศุภรดา โมขุนทด, ณัฐมน เนตรภักดี, เขมิกา วิเศษเพ็ง, นิภาพร ปลื้มมะลัง, เกสรวี ศรีศุภนัน, ต่วนนูรีซัน อิแต, และ นาเดียร์ อาแซ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของวัยรุ่นหญิงโรงเรียนแห่งหนึ่งจากในเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยาลัยนครราชสีมา, การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563 เรื่อง นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคมในยุคดิจิตอล (หน้า 1106-1115). วิทยาลัยนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/ 2563Vol12No1_1.pdf

ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, และ นฤมล ธีระรังสิกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารแพทย์นาวี, 46(3), 607-620.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. (2559, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-9.

ภมร ดรุณ, และ ประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71-82.

ยุวดี งอมสงัด, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และ พรนภา หอมสินธุ์ .(2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(2), 37-51.

วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และ พรนภา หอมสินธุ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2), 39-51.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติทางการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ. (2558). พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 97-109.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถานการณ์ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปีพ.ศ. 2560. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

อังศินันท์ อินทรกำแหง, และ ธัญชนก ขุมทอง. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(3), 19-38.

อุทัยวรรณ สกุลวลีธร, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, และ นฤมล ธีระรังสิกุล. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 253-263.

Kilfoyle, K. A., Vitko, M., O'Conor, R., & Bailey, S. C. (2016). Health literacy and women's reproductive health: A systematic review. Journal of Women's Health, 25(12), 1237-1255.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Senaviratna, N. A. M. R., & Cooray, T. M. J. A. (2019). Diagnosing multicollinearity of logistic regression model. Asian Journal of Probability and Statistics, 5(2), Article AJPAS.51693. https://journalajpas.com/index.php/AJPAS/article/view/30132

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.