ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ทีนุชา ทันวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 320 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง .60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .87, .85 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า


พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.38 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และประวัติโรคความดันโลหิตสูงของบุคคลในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (X2 = 13.20, 13.48, 17.26, 15.84, 18.59; Cramer’s V = .20, .20, .23, .22, .24 ตามลำดับ) ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X2 = 6.44; Cramer’s V = .14) และรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (X2 = 14.11, 7.24 Cramer’s V = .15, .15) ส่วนด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และปัจจัยสนับสนุนทางสังคมทุกด้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ


ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผน สนับสนุนให้กลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงประโยชน์ในการป้องกันโรคและสามารถขจัดอุปสรรคในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยให้บุคคลในครอบครัวมีส่วนสนับสนุนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุขสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561, 4 กันยายน). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_61.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจำปี 2562. http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable- disease.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). ธรรมสาร.

กัลยารัตน์ แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, และ จิติมา กตัญญู. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยวง อำเภอหนองล่อง จังหวัดลำพูน. ใน บัณฑิตา อินสมบัติ (บ.ก.), การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (หน้า13-23). สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จุฑาภรณ์ ทองญวน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาแพทย์เขต 11, 29(2), 195-202.

ชญาภัทร พันธ์งาม, รมย์กมล วิจิตรจันทร์, และ ดาวเรือง สายจันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตสูงของประชาชนในเขตพื้นที่บ้านหนองแก้ว ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 4(1), 146-151.

ดาราวรรณ รองเมือง, และ ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชน ตำบลปากหมาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(1), 73-81.

วานิช สุขสถาน. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(3), 431-441.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. ทริค ธิงค์.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, และ นิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2562). Health Data Center (HDC) กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลส่งเสริมป้องกัน หมวดการคัดกรอง. https://pbi.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

อมรรัตน์ ลือนาม, นิลาวรรณ งามขำ, ดวงหทัย แสงสว่าง, วิภาวรรณ เพ็งพานิช, กมลทิพย์ รัตนสุวรรณาชัย, วชรดล เส็งลา, และ กิตติ ประจันตเสน. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสาร มฉก. วิชาการ, 23(1), 93-106.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Prentice-Hall.

Cohen, S., & Syme, S. L. (1985). Social support and health. Academic Press.

Janz, N. K., & Becker, M. H. (1984). The health belief model: A decade later. Health Education Quarterly, 11(1), 1-47.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kadirvelu, A., Sadasivan, S., & Hui Ng, S. (2012). Social support in type II diabetes care: A Case of too little, too late. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy, 5, 407-417.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health Education Quarterly, 15(2), 175-183.

Shumaker, S. A., & Brownell, A. (1984). Towards a theory of social support: Closing conceptual gaps. Journal of Social Issues, 40(4), 11-36.