คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพ ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดีของพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชนห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

เกตุกาญจน์ วิเชียรรัตน์
ปราโมทย์ ทองสุข
ประภาพร ชูกำเหนิด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความพึงพอใจในงาน และด้านความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดีกับความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 250 คน เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความพึงพอใจในงาน และด้านความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน แบบสอบถามภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และแบบสอบถามสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 86, .88, .98, และ .96 ตามลำดับ โดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า


1. คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกพึงพอใจในงาน อยู่ในระดับมาก (M = 4.03, SD = .51) และคุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับน้อย (M = 2.41, SD = .56)


2. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความรู้สึกพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .26, p < .01) และไม่สัมพันธ์กับความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน (r = -.04, p > .05) สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี มีสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความรู้สึกพึงพอใจในงาน (r = .38, p < .01) และมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.15, p < .01)


ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดียิ่งขึ้นเป็นการเพิ่มความรู้สึกพึงพอใจในงาน และลดความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกร ศิริสุข. (2557). ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

กมลพรรณ รามแก้ว, และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลหน่วย ฉุกเฉินโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 226-234.

กอบพร แทนม้วน. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(1), 61-73.

กํามัน เจ๊ะอํารง, และ ชญานิกา ศรีวิชัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความเหนื่อยหน่าย ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 299–305.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ, และ อัจฉรา คำมะทิตย์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), 51-62.

คัมภีระ แสนกุง, สัญญา เคณาภูมิ, และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(2), 132-145.

นฤมล สิงห์ดง. (2556). การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมการปฏิบัติที่ดีของวิชาชีพ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3), 6-12.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

ปรีญาภรณ์ แสงแก้ว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของเจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.

พิศาล ถาวรวงษ์. (2564). ความเหนื่อยล้าของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 35(1), 1-16.

เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ. (2558). องค์ประกอบของตัวชี้วัดของสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการบริหารองค์การพยาบาลที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วรีรัตน์ เฉลิมทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพกับแรงจูงใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ, บุญเติม แสงดิษฐ, และ ทศพร วิมลเก็จ. (2561). ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(3), 163-172.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพันธ์ ศิริพันธ์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกุล, ประณีต ส่งวัฒนา, และ เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2557). คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(2), 47-55.

สวรรญา อินทรสถาพร, อรวรรณ แก้วบุญชู , และ เพลินพิศ บุญยมาลิก. (2563). สมดุลชีวิตและงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของพยาบาลที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 129-143.

สินี นวลเปียน, ปราโมทย์ ทองสุข, และ จิรพรรณ พิรวุฒิ. (2556). ผลกระทบจากการการปฏิบัติงานของพยาบาลงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และการรับรู้การจัดความปลอดภัยของหัวหน้างาน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 81-90.

สุปาณี เสนาดิศัย, รัชนก คชไกร, จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์, อัครเดช เกตุฉ่ำ, เสารส มีกุศล, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, และ นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ. (2561). การสำรวจสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานพลังบวกของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารพยาบาล, 67(4), 1-10.

สุรวุฒิ ดอเลาะ. (2563). ประสบการณ์ของหัวหน้าพยาบาลในการจัดการความขัดแย้งในการบริการสุขภาพโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, และ วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลกับผลลัพธ์ของผู้ป่วยและพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย. พยาบาลสาร, 41(1), 37-79.

อมรรัตน์ จันโยธา, สุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, และ สุคนธา ศิริ. (2560). ศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของพยาบาลโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 166-74.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Monroe, M., Morse, E., & Price, J. M. (2020). The relationship between critical care work environment and professional quality of life. American Journal of Critical Care, 29(2), 145-149. https://doi.org/10.4037/ajcc2020406

O'Callaghan, E. L., Lam, L., Cant, R., & Moss, C. (2020). Compassion satisfaction and compassion fatigue in Australian emergency nurses: A descriptive cross-sectional study. International Emergency Nursing, 48, Article 100785. https://doi.org/10.1016/j.ienj.2019.06.008

Spears, L. C. (2010). Character and servant leadership: Ten characteristics of effective, caring leaders. The Journal of Virtues & Leadership, 1(1), 25-30.

Stamm, B.H. (2010). The concise ProQOL manual (2nd ed). ProQOL.org.

Wu, S., Singh-Carlson, S., Odell, A., Reynolds, G., & Su, Y. (2016). Compassion fatigue, burnout, and compassion satisfaction among oncology nurses in the United States and Canada. Oncology Nursing Forum, 43(4), 161-69. https://doi.org/10.1188/16.ONF.E161-E169