ผลของการนวดไทยและประคบสมุนไพร ร่วมกับการใช้ยาต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดไทย และประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยาต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลองตอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไผ่โรงวัว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อสุพรรณ จำนวน 60 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยสุ่มอย่างเป็นระบบและสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับยา Diclofenac Sodium 25 มิลลิกรัม และ Tolperisone HCl 50 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร จำนวน 3 วัน ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับยาข้างต้นร่วมกับการนวดไทยและประคบสมุนไพร วันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จำนวน 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการนวดไทยและประคบสมุนไพร และแบบประเมินความเจ็บปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่างภายหลังการนวดไทยและประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดลดลงต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.76, p < .001) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับยาแก้ปวดเพียงอย่างเดียว (t = 10.80, p < .001)
การวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าการนวดไทยและประคบสมุนไพร สามารถช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ สามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลสุขภาพ แบบผสมผสาน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาและขยายผลการปฏิบัติสู่ชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จุฑารัตน์ สว่างชัย, ชุลีพร ปิยสุทธิ์, และ ศิริพร แก้วกุลพัฒน์. (2562). การจัดการความปวดแบบผสมผสาน: การตั้งเป้าหมายระดับความปวดหลังผ่าตัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 161-171.
ชาคริต สัตยารมณ์, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน, และ นพวรรณ เปียซื่อ. (2557). ผลของการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยและประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยา ต่ออาการปวด หลังส่วนล่างและปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 25(2), 1-13.
ธงชัย ก่อสันติรัตน์. (2553). ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 17(2), 97-113.
นพวรรณ บัวตูม, มนัสนันท์ เริงสันเทียะ, สิริพร จารุกิตติ์สกุล, และ กชกร สุขจันทร์ อินทนูจิตร. (2561). การนวดไทยรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 21-29.
พิชญาภา อินทร์พรหม, และ พิชญาภา อัตตโนรักษ์. (2563). ผลการนวดไทยแบบราชสำนักต่อพิสัยการเคลื่อนไหวความโค้งของหลังส่วนล่าง และระดับความปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2), 130-143.
ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์. (2555). Complementary nursing and symptom management in chronic care: Thailand perspective. ใน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, The 5th Asian-Pacific International Conference on Complementary Nursing (น. 37-42). โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรินรัตน์ โคตะพันธ์, และ ศุภมาศ จารุจรณ. (2560). โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 135-142.
ศิรินทิพย์ คําฟู, อรรจน์มน ธรรมไชย, ณิชาภา พาราศิลป์, พุทธิพงษ์ พลคําฮัก, อรุณรัตน์ ศรีทะวงษ์, วีระศักดิ์ ต๊ะปัญญา, เกวลี สีหราช, และ ปาจรีย์ มาน้อย. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อระดับความเจ็บปวดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(1), 64-70.
สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน. อมรินทร์.
สายธิดา ลาภอนันตสิน, สิริกานต์ เจตนประกิต, เรืองรักษ์ อัศราช, วาธินี อินกล่ำ, และ ศิริประภา จำนงค์ผล. (2557). ผลของการนวดร่วมกับการออกกําลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษานําร่อง. วารสารกายภาพบำบัด, 36(3), 97-106.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). จำนวนผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ 21 กลุ่มโรค (รง.0110/5). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
Burns, N., & Grove S. K. (2009). Study guide for the practice of nursing research: Aappraisal, synthesis, and generation of evidence (6th ed.). Elsevier.
Chou, R., Deyo, R., Friedly, J., Skelly, A., Hashimoto, R., Weimer, M., Fu, R., Dana, T., Kraegel, P., Griffin, J., Grusing, S., & Brodt, E., D. (2017). Nonpharmacologic therapies for low back pain: A systematic review for an American college of physicians clinical practice guideline. Annals of Internal Medicine, 166(7), 493-505.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.
Jimenez-Garcia, R., Del Barrio, J. L., Hernandez-Barrera, V., de Miguel-Díez, J., Jimenez-Trujillo, I., Martinez-Huedo, M. A., & Lopez-de-Andres, A. (2018). Is there an association between diabetes and neck pain and lower back pain? Results of a population-based study. Journal of Pain Research, 11, 1005-1015.
McCaffery, M., & Pasero, C. (1999). Teaching patients to use a numerical pain-rating scale. The American Journal of Nursing, 99(12), 22.
Melzack, R., & Katz, J. (2013). Pain measurement in adult patients. In S. B. Mcmahon, M. Koltzenburg, I. Tracey, & D. Turk (Eds.), Wall and Melzack’ s textbook of pain (6th ed.) (pp.301-314). Elsevier.
Papadakis, M. A., McPhee, S. J., & Rabow, M. W. (2019). Medical diagnosis & treatment. McGraw Hill.
Real, A., Ukogu, C., Krishnamoorthy, D., Zubizarreta, N., Cho, S. K., Hecht, A. C., & Iatridis, J. C. (2019). Elevated glycohemoglobin HbA1c is associated with low back pain in non-overweight diabetics. The Spine Journal, 19(2), 225-231.
Reddi, D., Curran, N., & Stephens, R. (2013). An introduction to pain pathways and mechanisms. British Journal of Hospital Medicine, 74(Sup12), 188-191.
Saeedi, P., Petersohn, I., Salpea, P., Malanda, B., Karuranga, S., Unwin, N., Colagiuri, S., Guariguata, L., Motala, A. A., Ogurtsova, K., Shaw, J. E., Bright, D., Williams, R., & IDF Diabetes Atlas Committee. (2019). Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas. Diabetes Research and Clinical Practice, 157, Article 107843. https://doi.org/10.1016/j.diabres.2019.107843
Zeleke, S., Kassaw, A., & Eshetie, Y. (2021). Non-pharmacological pain management practice and barriers among nurses working in Debre Tabor Comprehensive Specialized Hospital, Ethiopia. PLOS ONE, 16(6), Article e0253086. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0253086