การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการ และเทคนิคการพยาบาล ด้วยสถานการณ์จําลองในหอผู้ป่วยเสมือนจริง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลรูปแบบการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลองในหอผู้ป่วยเสมือนจริง มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเตรียมความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติ 2) การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และ 3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ และการรับรู้สมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลองในหอผู้ป่วยเสมือนจริง 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมการและทบทวนประสบการณ์เดิม 2) เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ผ่านสถานการณ์จำลอง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ 3) ใคร่ครวญประสบการณ์ใหม่ผ่านกระบวนการสะท้อนคิด และ 4) สรุปสาระสำคัญจากประสบการณ์ใหม่
2. ภายหลังการนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่านักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ และการรับรู้สมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รูปแบบการเตรียมความพร้อมนี้ สามารถนำไปใช้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ และสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กชกร ธรรมนำศีล, กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, สุปราณี น้อยตั้ง, และจินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2561). ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Simulation-Based Learning ต่อความรู้ด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (พิเศษ), 80-88.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, ดวงแข พิทักษ์สิน, ปิยะนาฏ ช่างเสียง, และ อังคณา หมอนทอง. (2560). ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(4), 46-58.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2561). เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. ยุทธรินทร์การพิมพ์.
สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และ สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 113-127.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล, สุวัฒน์ รัตนศักดิ์, ชมพูนุช แสงพานิช, วิภาวรรณ สีสังข์, และ ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(1), 49-58.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W. H. Freeman.
Beanlands, H., McCay, E., Fredericks, S., Newman, K., Rose, D., Mina, S. M., Martin, L. S., Schwind, J., Sidani, S., Aiello, A., & Wang, A. (2019). Decreasing stress and supporting emotional well-being among senior nursing students: A pilot test of an evidence-based intervention. Nurse Education Today, 76(3), 222-227. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2019.02.009
Boostel, R., Felix, J. V. C., Bortolato-Major, C., Pedrolo, E., Vayego, S. A., & Mantovani, M. D. F. (2018). Stress of nursing students in clinical simulation: A randomized clinical trial. Revista Brasileira de Enfermagem, 71(3), 967-974.
Bortolato-Major, C., Mantovani, M. D. F., Felix, J. V. C., Boostel, R., Silva, Â. T. M. D., & Caravaca-Morera, J. A. (2019). Debriefing evaluation in nursing clinical simulation: A cross-sectional study. Revista Brasileira de Enfermagem, 72(3), 788-794.
Chen, G., Gully, S. M., & Eden, D. (2001). Validation of a new general self-efficacy scale. Organizational Research Methods, 4(1), 62-83.
Dincer, B., & Ataman, H. (2020). The effect of high reality simulation on nursing students’ knowledge. International Journal of Caring Sciences, 13(2), 894-900.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Jeffries, P. R., & Clochesy, J. M. (2012). Clinical simulations: An experiential, student-centered pedagogical approach. In D. M. Billings & J. A. Halstead (Eds.), Teaching in nursing: A guide for faculty (4th ed.) (pp.352-368). Elsevier.
Jeffries, P. R., Rodgers, B., & Adamson, K. (2015). NLN Jeffries simulation theory: Brief narrative description. Nursing Education Perspectives, 36(5), 292-293.
Kim, J. Y., & Kim, E. J. (2015). Effects of simulation on nursing students’ knowledge, clinical reasoning, and self-confidence: A quasi-experimental study. Korean Journal of Adult Nursing, 27(5), 604-611.
Kim, J., Park, J-H., & Shin, S. (2016). Effectiveness of simulation-based nursing education depending on fidelity: A meta-analysis. BMC Medical Education, 16, Article 152. https://link.springer.com/content/pdf/10.1186/s12909-016-0672-7.pdf
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice-Hall.
Kolb, A. Y., Kolb, D. A., Passarelli, A., & Sharma, G. (2014). On becoming an experiential educator: The educator role profile. Simulation & Gaming, 45(2), 204-234.
Noetel, M., Griffith, S., Delaney, O., Sanders, T., Parker, P., Cruz, B. P., & Lonsdale, C. (2021). Video improves learning in higher education: A systematic review. Review of Educational Research, 91(2), 204-236.
Schön, D. A. (1987). Educating the reflective practitioner: Toward a new design for teaching and learning in the professions. Jossey-Bass.
Sweller, J. (1988). Cognitive load during problem solving: Effects on learning. Cognitive Science, 12(2), 257-285.