ปัจจัยทำนายประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ระดับเครือข่าย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

มุทิตา เครือปะละ
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ระดับเครือข่าย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 85 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ประสบการณ์ในการเป็นคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ความรู้ ความสามารถ และทักษะของผู้ตรวจสอบภายใน จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน และการสนับสนุนการดำเนินงานตรวจสอบภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุป ดังนี้


1. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายในระดับเครือข่าย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับมาก (M = 4.16, SD = .60)


2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายในระดับเครือข่าย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ การสนับสนุนการดำเนินงานตรวจสอบภายใน จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน และความรู้ ความสามารถ และทักษะของผู้ตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .73, .65, .63; p < .01)


3. ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายในระดับเครือข่าย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ได้ร้อยละ 60.10 (R2 = .601) ได้แก่ การสนับสนุนการดำเนินงานตรวจสอบภายใน และจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน (Beta = .545, .304; p < .01) 


ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ในด้านระบบการสนับสนุนการดำเนินงานและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในต่อไป  


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำไลมาศ กฤชเพชร. (2563). ประสิทธิผลในการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(1), 13-21.

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2563). แนวปฏิบัติการประกันและการปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน: การประเมินภายในองค์กร. สืบค้นจาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/สพต-ระเบียบ.html.

กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2560). มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. สืบค้นจาก https://www.cgd.go.th/ cs/internet/internet/สพต-ระเบียบ.html.

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. สืบค้นจาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/สพต-ระเบียบ.html.

กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป). คู่มือการตรวจสอบภายในสำหรับพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการระดับเครือข่ายตรวจสอบภายใน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กานต์ เสกขุนทด. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายใน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 14(31), 53-62.

เครือพันธุ์ บุกบุญ. (2559). การพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงาน การตรวจสอบภายในและการตรวจสอบภายในแบบเสริมพลังของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

พรชัย วีระนันทาเวทย์, และสุรีย์ โบษกรนัฎ. (2563). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 165-178.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 27 ก. หน้า 1-23.

พวงพยอม เสนาวารี, อรรถพงศ์ พีระเชื้อ, และสัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2563). คุณลักษณะของบุคลากรและองค์กรที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาด้านวิชาชีพของผู้ตรวจสอบภายในองค์กรภาครัฐของไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(2), 68-82.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น, ลัดดาวรรณ์ รุ่งเรือง, และอรพิน กอวชิรพันธ์. (2562). การมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดสมรรถนะของเครือข่ายงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(1), 76-93.

มาลีรัตน์ พัฒนตั้งสกุล, และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 103-114.

รมิตา อินใส, และวรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2562). ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(2), 20-35.

วราลักษณ์ มิ่งขวัญ, และศิริเดช คำสุพรหม. (2560). องค์ประกอบการเพิ่มประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน มุมมองของผู้รับตรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 233-245.

สุมัลลิกา อ.สงวน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับตรวจ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร, 32(2), 53-63.

Best, J. W. (1977). Research in education. (2nd ed.). New Jersey: Prentice – Hall.

Cohen, J. (2001). Designing a new taxonomy of education objectives. California: Corwin Press.

Dejnaronk, J., Little, H., Mujtaba, B., & McClelland, R. (2016). Factors influencing the effectiveness of the internal audit function in Thailand. Journal of Business and Policy Research, 11(2), 80-93. Retrieved from https://doi.org/10.21102/jbpr.2016.12.112.05.

Endaya, K. A., & Hanefah, M. M. (2013). Internal audit effectiveness: An approach proposition to develop the theoretical framework. Research Journal of Finance and Accounting, 4(10), 92-102.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Inyang, O., Francis, E. E., & Florence, O. O. (2021). Internal audit effectiveness in the public health sector in South-South Nigeria. United International Journal for Research & Technology, 2(8), 127-132.

Rahahle, M. Y. (2017). Extent of compliance with code of ethics and its impact on internal audit effectiveness. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 7(4), 40-61.

Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences. New Jersey: Lawrence Erlbaum.