ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม ต่อความรอบรู้ทางสุขภาวะในการป้องกันการเสพกัญชาในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

จารุวรรณ สนองญาติ
พิศิษฐ์ พลธนะ
เนติยา แจ่มทิม
ลักขณา ศิรถิรกุล
เมทณี ระดาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาวะในการป้องกันการเสพกัญชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม และ 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาวะในการป้องกันการเสพกัญชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนรู้ปกติ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายจากนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม และแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาวะในการป้องกันการเสพกัญชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาวะในระดับมาก (M = 64.79, SD = 2.80) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 38.24, SD = 2.94 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 13.64) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนแบบปกติ (M = 42.65, SD = 2.96) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 12.86)


ผลการวิจัย ชี้ให้เห็นว่าการเรียนด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะโดยการเรียนรู้ผ่านเกม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการเสพกัญชาในนักเรียนมัธยมศึกษาได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐา ผิวมา. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(ฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี), 1-15.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย แสงจันทร์, และ สุมาลี สิกเสน. (2561). ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องยาเสพติดร่วมกับเทคนิคการเรียนรูแบบเพื่อนคูคิด. ในสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น อย่างยั่งยืน (หน้า 1863-1870). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บัณฑิต ศรไพศาล. (2561). ประสบการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศแคนาดา. ใน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มสช, การกำหนดกรอบงานวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดกัญชาเพื่อนำไปกำหนดนโยบายสำหรับใช้ในทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย (หน้า 1-36). มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มสช.

พระครูพิพัฒน์สุตคุณ, พระมหาเมธี จนฺทวํโส, และ กวีภัทร ฉาวชาวนา. (2563). การเอาชนะยาเสพติดในสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(3), 235-244.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. (2562, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 18 ก. หน้า 1-16.

พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, มัลลิกา มาตระกูล, วุฒิชัย ไชยรินคำ, ธวัชชัย ใจคำวัง, และ สุรินทร์พร ลิขิตเสถียร. (2563, 18 กุมภาพันธ์). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้องในประชาชนจังหวัดเชียงราย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. https://cads.in.th/cads/content?id=164

เมทณี ระดาบุตร, สุภลักษณ์ ธานีรัตน์, และ สุนทรี ภิญโญมิตร. (2562). การรับรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี เกี่ยวกับการเรียนการสอนเชิงรุก. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 144-153.

ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา. (2565). ผลของการใช้เกมส์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน. Thai Journal of East Asian Studies, 42(2), 35-48.

วรพงษ์ แสงประเสริฐ. (2563). ผลการสอนการอ่านโดยใช้เกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อการสอนอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ในสำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 10 (หน้า 85-94). สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทวัส ดวงภุมเมศ, และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1-13.

วิรัช วรรณรัตน์. (2560). คะแนนสอบและการตัดเกรด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-11.

วิศวะ เชียงแรง, และ วรรณวิภา เมืองถ้ำ. (2564). การกำหนดแนวทางมาตรการการควบคุมการใช้กัญชาในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 14(2), 20-35.

วีระยุทธ อินพะเนา, รุจา ภู่ไพบูลย์, และ ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. (2563). ผลของโปรแกรมสื่อเกมคอมพิวเตอร์ “Kid...คิด” ต่อทัศนคติ การรับรู้บรรทัดฐานทางสังคมและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเพื่อการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(1), 107-121.

ศิริลักษณ์ ปัญญา, และ เสาวลักษณ์ ทาแจ้. (2563). การกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุค 4.0. พยาบาลสาร, 47(2), 514-525.

ศุลีวงศ์ สนสุผล, สุรีย์ จันทรโมลี, และ ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2561) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดบุรีรัมย์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพสารเสพติด และขั้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. รมยสาร, 16(1), 207-223.

สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2564). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. www.oncb.go.th/EBookLibrary/annual%20report%202564.pdf.

สุนทร พุทธศรีจารุ (2562). การพัฒนามาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาทางการแพทย์และการนำไปสู่การปฏิบัติ. วารสารอาหารและยา, 26(2), 10-19.

สุภาพร ชินสมพล, บุญลือ มีเงิน, เขมกัญญา กล่อมจอหอ, สุจิตรา ศุภหัตถี, และ ชัยสิทธิ์ ทิศกระโทก. (2562). ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดของเยาวชนแกนนำเครือข่ายป้องกันปัญหายาเสพติด. ใน วิทยาลัยนครราชสีมา, การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” (หน้า 999-1003). วิทยาลัยนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_112.pdf.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

BBC NEWS ไทย. (2564). กัญชา: ทำความเข้าใจกฎหมายปลดกัญชาออกจากยาเสพติดกัญชาออกจากยาเสพติด. https://www.bbc.com/thai/thailand-60035754

El Mawas, N., Tal, I., Moldovan, A. N., Bogusevschi, D., Andrews, J., Muntean, G. M., & Muntean, C. H. (2020). Investigating the impact of an adventure-based 3D solar system game on primary school learning process. Knowledge Management & E-Learning: An International Journal, 12(2), 165-190.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Fauzi, S. S. M., & Hussain, R. M. R. (2016). Designing instruction for active and reflective learners in the flipped classroom. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 13(2), 147-173.

Kanj, M., & Mitic, W. (2009). Health literacy and health promotion, definitions, concepts and document. In World Health Organization, 7th Global Conference on Health Promotion, Promoting Health and Development: Closing the Implementation Gap. World Health Organization. https://www.dors.it/documentazione/testo/201409/02_2009_OMS%20Nairobi_Health %20Literacy.pdf

Manganello, J. A. (2008). Health literacy and adolescents: A framework and agenda for future research. Health Education Research, 23(5), 840-847.