การประเมินผลการพัฒนาระบบการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

Main Article Content

กศิมา สง่ารัตนพิมาน
อรพิน ภัทรกรสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนาแนวทางการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 วิธี ดังนี้ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้เกี่ยวข้อง เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบสอบถามการรับรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาแนวทางการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว แบบรายงานผลการประเมินคุณภาพคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และแบบบันทึกผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ควรมีการจัดทำนโยบายการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชัดเจน ครอบคลุมทั้ง 4 มิติและสอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย และเครือข่ายทุกภาคส่วนสนับสนุน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรได้รับรู้นโยบายและแผนการจัดการ การอบรมทางวิชาการ และพัฒนาทักษะการจัดบริการ 3) ด้านกระบวนการ ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณมีประสิทธิภาพ การนิเทศติดตามและประเมินผลมีรูปแบบชัดเจน และด้านผลลัพธ์พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยรวม หลังการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 (M = 222.40, SD = 20.50) ซึ่งสูงกว่าก่อนการดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 (M = 207.10, SD = 22.70) และสูงกว่าก่อนการดำเนินการในทุกด้าน การรับรู้และการปฏิบัติในการพัฒนาก่อนและหลังดำเนินงานแตกต่างกัน (t = -4.12, p = .003; t = -4.24, p = .003 ตามลำดับ ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดี หลังการดำเนินงาน (M = 71.90, SD = 9.10) สูงกว่าก่อนการดำเนินงาน (M = 35.70, SD = 8.60) และร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี หลังการดำเนินงาน (M = 56.50, SD = 13.40) สูงกว่าก่อนการดำเนินงาน (M = 48.30, SD = 7.80)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาระบบการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครือข่ายสุขภาพทุกภาคควรร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, วิมล แสงอุทัย, กมลชัย อมรเทพรักษ์, และ สมนึก หงส์ยิ้ม. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการของอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 78-89.

จินตนา บุญพร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(2), 322-340.

พงศธร พอกเพิ่มดี. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ. ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 173-186.

ภัทระ แสนไชยสุริยา, บังอร เทพเทียน, ปาริชาติ จันทร์จรัส, ภูษิต ประคองสาย, กุมารี พัชนี, และ ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. (2562). รายงานผลการศึกษา โครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560-2562. กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.

ยอห์น จิระนคร, วีณา ตันไสว, ปัจฉิมา บัวยอม, และ แจ่มจันทร์ กิมาคม. (2556). การประเมินกระบวนการจัดการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในภาคใต้ตอนล่าง ปี 2556. วารสารควบคุมโรค, 39(4), 345-355.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php)

วนิดา ลาดตระกูลวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 24-36.

วิศรุดา ตีเมืองซ้าย, และ สุชาติ ทองแป้น. (2561). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงของคลินิกพิเศษโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(2), 194-205.

ศุภามณ จันทร์สกุล. (2557). ยุคสมัยของการประเมินผลและแนวคิดทฤษฎีของนักประเมิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1), 68-79.

สำราญ สิริภคมงคล, พรชนก สีหะวงษ์, จุฬาลักษณ์ ฐิตินันทิวัฒน์, และ สวรรยา สิริภคมงคล. (2560). ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาระบบจัดการโรคไม่ติดต่อ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สคร. 3, 11(2), 11-22.

สุรัตนา ทศนุต, และ เบญจมาศ ศิริกมลเสถียร. (2559). การศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 29-40.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, ยมนา ชนะนิล, และ ภูษณิศา มีนาเขตร. (2559). การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 105-130.

อรวรรณ สัมภวมานะ, ลินดา คล้ายปักษี, พนิดา อาวุธ, และ โศรตรีย์ แพน้อย. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 157-167.

Power, B., & Hubbard, R. (1999). Becoming teacher researchers one moment at a time. Language Arts, 77(1), 34-39.

Stufflebeam, D. L. (2000) The CIPP Model for Evaluation. In D. L. Stufflebeam, G. F. Madaus, & T. Kellaghan (Eds), Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (pp. 279-317). Springer. https://doi.org/10.1007/0-306-47559-6_16

World Health Organization. (2020). Noncommunicable diseases: Progress monitor 2020. https://www.who.int/publications/i/item/ncd-progress-monitor-2020