การศึกษาผลของการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

เพชรไพลิน พิบูลนิธิเกษม
วราภรณ์ ศิริธรรมานุกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา ผลการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2-4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 425 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทฤษฎี ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถามผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษา แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนแบบออนไลน์ แบบสอบถามปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเรียนออนไลน์ แบบบันทึกผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของรายวิชา และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.26, SD = .79) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (M = 3.45, SD = .83) 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของรายวิชา ในด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 ส่วนด้านรองลงมาคือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอยู่ในระดับดีเยี่ยม (M = 80.25, SD = 10.85) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (M = 73.12, SD = 9.42) 4) ความพึงพอใจต่อการเรียนของรายวิชาแบบออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.55, SD = .90) โดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้าน อาจารย์ผู้สอนมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่สอน (M = 4.04, SD = .88) และ 5) ปัญหา/อุปสรรคในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่พบมากที่สุด คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหลุดบ่อย สัญญาณอ่อนหรือไม่เสถียร


ผู้สอนและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนจัดสรรแอปพลิเคชันที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพในการเรียนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้เรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, และ หทัยชนก บัวเจริญ. (2559). ผลการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในรายวิชาการพยาบาลในระบบสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 17(32), 42-54.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). ประกาศจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3): การปฏิบัติการของสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. https://www.ops. go.th/main/images/2563/muaAdmin/corona/COVID2019v2_thai.pdf

กัญญาพัชญ์ จาอ้าย, และ อรอนงค์ ธรรมจินดา. (2563). ผลของการใช้เกมสูติศาสตร์พาเพลินออนไลน์ต่อความรู้และความพึงพอใจของผู้เรียน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(1), 54-65.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (2561). รายละเอียดของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรังสิต. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

เครือหยก แย้มศรี. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชัน Zoom cloud meeting ช่วยสอนในรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), 36-42.

นงคาร รางแดง, และ ดวงดาว อุบลแย้ม. (2561). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการตรวจสภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(1), 169-178.

นิธิมา สุภารี. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(2), 115-123.

บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, และ บุษกร แก้วเขียว. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 155-168.

พัชรี แวงวรรณ, อัญญา ปลดเปลื้อง, และ ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย. (2561). การพัฒนาบทเรียน e - Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(1), 31-40.

วารินทร์ บินโฮเซ็น และ รัชนี นามจันทรา (2558). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา BNS 405 การยาบาลผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 114-125.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2554). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ: เอกสารแนบท้ายประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552. http://www. mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20law/1-36%20TQF%202552.pdf

สิริลักษณ์ ศรีเศวต, กนกกาญจน์ เมฆอนันต์ธวัช, และ สุทธาทิพย์ ทุมมี. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานออนไลน์ในการพยาบาลเด็กโรคหัวใจ ต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 129-145.

หรรษา เศรษฐบุปผา, สมบัติ สกุลพรรณ์, และ สุวิท อินทอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Integrated e-learning courses) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 1-11.

อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, พัชรี แวงวรรณ, ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย, อัญญา ปลดเปลื้อง, และ ทรงสุดา หมื่นไธสง. (2560). การพัฒนาบทเรียน E - Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการทำแผล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 145-155.

อุมาสวรรค์ ชูหา, สุธาทิพย์ เดี่ยววานิชย์, ธีรเสฏฐ์ ศิราธนานนท์, เพชรไพลิน พิบูลนิธิเกษม, และ ศิริภัททรา จุฑามณี. (2562). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน Zoom cloud meeting ช่วยสอนในรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(1), 176-182.

Diab, G. M. A. E. H., & Elgahsh, N. F. (2020). E-learning during COVID-19 pandemic: Obstacles faced nursing students and its effect on their attitudes while applying it. American Journal of Nursing, 9(4), 300-314.

Kim, S. Y., Kim, S. J., & Lee, S. H. (2021). Effects of online learning on nursing students in South Korea during COVID-19. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(16), Article 8506. https:// doi.org/10.3390/ijerph18168506

Kim, S., Jeong, S. H., Kim, H. S., & Jeong, Y. J. (2022). Academic success of online learning in undergraduate nursing education programs in the COVID-19 pandemic era. Journal of Professional Nursing, 38, 6-16.

Natarajan, J., & Joseph, M. A. (2022). Impact of emergency remote teaching on nursing students’ engagement, social presence, and satisfaction during the COVID‐19 pandemic. Nursing Forum, 57(1), 42-48.

Oducado, R. M., & Estoque, H. (2021). Online learning in nursing education during the COVID-19 pandemic: Stress, satisfaction, and academic performance. Journal of Nursing Practice, 4(2), 143-153.

Subedi, S., Nayaju, S., Subedi, S., Shah, S. K., & Shah, J. M. (2020). Impact of E-learning during COVID-19 pandemic among nursing students and teachers of Nepal. International Journal of Science and Healthcare Research, 5(3), 68-76.

Vai, M. & Sosulski, K. (2015). Essentials of online course design, A standards-based guide (2nd ed.). Routledge.

World Health Organization. (2019). Coronavirus disease (COVID-19) events as they happen. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/events-as-they-happen