ผลของการจัดการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ผลงาน ทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ผกามาศ พีธรากร
นงณภัทร รุ่งเนย
วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานต่อทักษะการสร้างสรรค์ผลงาน ทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบสอบถามทักษะการสร้างสรรค์ผลงาน ทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ. 85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสร้างสรรค์ผลงาน ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภายหลังจากการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.46, p < .05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในทักษะการสร้างสรรค์ผลงาน (M = 3.98, SD = .71) รองลงมาคือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (M = 3.97, SD = .67) และทักษะทางปัญญา (M = 3.91, SD = .72) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สามารถพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, นวพร มามาก, ณัฐนิชา ศรีละมัย, และละเอียด แจ่มจันทร์. (2561). ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 26(2), 11-19.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติกำจร กุศล, กำไล สมรักษ์, จันทร์จุรีย์ ถือทอง, และธัญวลัย หองส่ำ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 39-55.

จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2564). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน ปัญหาเป็นฐาน และโครงการเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน มจร, 9(2), 778-793.

จิรภัค สุวรรณเจริญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 37-47.

ชนันท์ธิดา ประพิณ, กอบสุข คงมนัส, ช่อบุญ จิรานุภาพ, และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 30-47.

เฌอร์นินทร์ ตั้งปฐมวงศ์, นุชนาถ บุญมาศ, สุจิมา ติลการยทรัพย์, จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, กานต์รวี โบราณมูล, และวสันต์ สีแดน. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 259-266.

ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริม ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

นงนุช วงศ์สว่าง, วรพจน์ ศตเดชากุล, ดนุลดา จีนขาวขำ, กมลพร แพทย์ชีพ, ชลธิชา บุญศิริ, และปณิธาน จอกลอย. (2564). ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมตามความคิดเห็นของนักศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 130-143.

นราวิชญ ศรีเปารยะ, และพงศประเสริฐ หกสุวรรณ. (2562). การพัฒนาระบบการสอนโดยใชโครงงานเป็นฐานเพื่อสงเสริมสมรรถนะการใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 247-262.

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). การพัฒนานวัตกรรมการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชา 468 310 เทคนิคการนำเสนอและการจัดนิทรรศการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 679-693.

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว, พัชรา วาณิชวศิน, และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน Project-Based Learning (PjBL) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 1-6.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 17 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 199 ง. หน้า 19-21. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/199/T19.PDF.

พิชญาพร ประครองใจ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาสื่อพื้นบ้าน เพื่อการสื่อสาร. วารสารการสื่อสารมวลชน, 7(2), 68-84.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวินี เสาะสืบ, วรนาถ พรหมศวร, และจุฬารัตน์ ห้าวหาญ. (2564). ผลของการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานต่อความรู้ เรื่อง ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 144-155.

วรรณรัตน์ ลาวัง, และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานเพื่อการเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 33-45.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานการเสวนาทางวิชาการ มิติใหม่ของการ ประเมินผล:การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ โครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: สินทวีกิจ.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง, และรุ่งนภา จันทรา. (2562). การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 12-20.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

Du, X., Su, L., & Liu, J. (2013). Developing sustainability curricula using the PBL method in a Chinese context. Journal of Cleaner Production, 61, 80-88. doi: 10.1016/j.jclepro.2013.01.012.

Efstratia, D. (2014). Experiential education through project based learning. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 152, 1256-1260.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Guzdial, M. (1998). Technological support for project-based learning. In C. Dede (Ed.), ASCD year book (pp.47–72). Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Wartiovaara, M., Lahti, T., & Wincent, J. (2019). The role of inspiration in entrepreneurship: Theory and the future research agenda. Journal of Business Research, 101, 548-554. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2018.11.035.