การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาพยาบาลและบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2562 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พัชรรินทร์ เนียมเกิด
สรัลรัตน์ พลอินทร์
วารุณี เกตุอินทร์
ชนาภา สมใจ
นภชา สิงห์วีรธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย จุดคุ้มทุน ต้นทุนต่อนักศึกษาเต็มเวลาของการผลิตนักศึกษาและการบริการวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้การศึกษาต้นทุนรายหน่วยต้นทุน เก็บรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้ในมุมมองของผู้ผลิต โดยกระจายต้นทุนแบบลำดับขั้นจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ในปีงบประมาณ 2562 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ต้นทุนโครงการรวม และผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ


ผลการศึกษาพบว่า วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี มีต้นทุนรวม 61,291,468.04 บาท คิดเป็นต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และครุภัณฑ์ ร้อยละ 72.33, 19.10 และ 8.57 ตามลำดับ ต้นทุนต่อนักศึกษาเต็มเวลาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เท่ากับ 130,804.63 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 135,330.02 บาทต่อปี และจุดคุ้มทุนในการผลิต 380 คนต่อปี หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลมีต้นทุนต่อนักศึกษาเต็มเวลา 118,916.65 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 118,916.65 บาทต่อปี และจุดคุ้มทุนในการผลิต 324 คนต่อปี ต้นทุนต่อหน่วยบริการแพทย์แผนไทยเท่ากับ 300.25 บาทต่อคน และหลักสูตรฝึกอบรม เท่ากับ 13,277.18 บาทต่อคน 


ต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนเป็นประโยชน์ในการจัดการด้านการเงิน การกำหนดจำนวนการผลิตนักศึกษา เพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาณัฏฐ์ สาธกธรณ์ธันย์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าคุ้มทุนของการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 39-54.

นภชา สิงห์วีรธรรม (2558). คู่มือการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: สถาบันพระบรมราชชนก.

นภชา สิงห์วีรธรรม, รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร, กฤษดา แสวงดี, ปริญญา จิตอร่าม, และวรนุช ทัศบุตร.(2561). ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตและจุดคุ้มทุนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 932-947.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลปะฑีปัญญา, วรางคณา บุตรศรี, ลักขณา ชอบเสียง, และนวพล แก่นบุปผา (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 1(1), 75-91.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2). (2562, 30 เมษายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 253-256. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0253.PDF.

วรวุฒิ แสงทอง, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, นภชา สิงห์วีรธรรม, และศุภรดา มั่นยืน. (2564). การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาพยาบาลและบริการวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 147-158.

วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2562). รายงานการประเมินตนเองระดับสถาบัน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ประจำปีการศึกษา 2562. เพชรบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์, สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา, ศรีวรรณ สุพรรณสาร, และเจริญ บุญมี. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 18(1), 104-112.