อาการไม่พึงประสงค์ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน ทางช่องไขสันหลังในการผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลสิงห์บุรี

Main Article Content

สุนทรี เรืองสวัสดิ์
สัญญา โพธิ์งาม
สิทธิกร สายวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลังในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรีจากเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลัง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และอาการไม่พึงประสงค์ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลังในการผ่าตัดคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการวิจัย ดังนี้


1. ระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลัง หญิงตั้งครรภ์มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดคือ ความวิตกกังวล โดยมีคะแนนเฉลี่ยความถี่และความรุนแรงในระดับน้อย (M = 2.41, 2.64; SD = 1.33, 1.46) และมีคะแนนรวมในระดับปานกลาง (M = 5.05, SD = 2.79)


2. ขณะได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลัง หญิงตั้งครรภ์มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดคือ ความวิตกกังวล โดยมีคะแนนเฉลี่ยความถี่และความรุนแรงในระดับน้อย (M = 2.60, 2.40; SD = 3.41, 2.82) และมีคะแนนผลรวมในระดับปานกลาง (M = 5.00, SD = 6.23)


3. ระยะหลังได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลัง หญิงตั้งครรภ์มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีคะแนนเฉลี่ยความถี่และความรุนแรงอยู่ในระดับน้อย (M = 2.80, 2.66; SD = 3.27, 3.22) และมีคะแนนรวมในระดับปานกลาง (M = 5.46, SD = 6.49)


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หญิงตั้งครรภ์เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนทางช่องไขสันหลังแตกต่างกันในแต่ละระยะ ดังนั้น การเฝ้าระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพและปลอดภัย

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.

ชนิดา อนุวัธนวิทย์. (2555). การศึกษาผลการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 29(2), 123-132.

ตะวัน แสงสุวรรณ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, และจุฬาลักษณ์ บารมี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(4), 41-53.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2559). บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(1), 6-14.

นิติพร อยู่แก้ว. (2560). อัตราผ่าคลอดตามระบบร้อบสัน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 262-271.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล. (2561). แนวคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(3), 312-320.

อนงค์ สายสุด. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในมารดาที่มาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 10(1), 71-80.

Benzon, H. T., Asher, Y. G., & Hartrick, C. T. (2016). Back pain and neuraxial anesthesia. Anesthesia & Analgesia, 122(6), 2047-2058.

Iddrisu, M., & Khan, Z. H. (2021). Anesthesia for cesarean delivery: General or regional anesthesia-a systematic review. Ain-Shams Journal of Anesthesiology, 13(1), 1-7.

Jelting, Y., Klein, C., Harlander, T., Eberhart, L., Roewer, N., & Kranke, P. (2017). Preventing nausea and vomiting in women undergoing regional anesthesia for cesarean section: Challenges and solutions. Local and Regional Anesthesia, 10, 83-90. doi:10.2147/LRA.S111459.

Kalliyath, A. K., Korula, S. V., Mathew, A., Abraham, S. P., & Isac, M. (2019). Effect of preoperative education about spinal anesthesia on anxiety and postoperative pain in parturients undergoing elective cesarean section: A randomized controlled trial. Journal of Obstetric Anaesthesia and Critical Care, 9(1), 14-17.

Kung, C. C., Chen, S. S., Yang, H. J., Lai, C. J., & Chen, L. K. (2018). Pharmacogenetic study of pruritus induced by epidural morphine for post cesarean section analgesia. Taiwanese Journal of Obstetrics and Gynecology, 57(1), 89-94.

Morrish, D., & Hoskins, I. A. (2018). Improving obstetrical outcomes in cesarean sections, by utilizing evidence-based strategies. In G. Androutsopoulos (Ed.), Caesarean section (pp.123-133). London: IntechOpen. Retrieved from http://dx.doi.org/10.5772/ intechopen.78667.

Inal, Z. O., Gorkem, U., & Inal, H. A. (2020). Effects of preoperative anxiety on postcesarean delivery pain and analgesic consumption: General versus spinal anesthesia. The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine, 33(2), 191-197.

Tian, X., Niu, K., Cao, H., Zhan, G., Zhang, Y., Xu, F., ... & Gao, Y. (2021). Pruritus after continuous administration of epidural morphine for post-cesarean delivery analgesia: A case control study. BMC Pregnancy and Childbirth, 21(1), 1-10.