สุขภาพจิต: มุมมองผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ
สุนทรี ขะชาตย์
ปวิดา โพธิ์ทอง
เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิตในมุมมองของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่อายุ 60-69 ปี จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า  


ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา ให้ความหมายของสุขภาพจิตที่ครอบคลุมจิตใจที่เป็นสุข และจิตใจที่สงบ ข้อค้นพบการดูแลสุขภาพจิตในมุมมองของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การรักษาสมดุลกายใจ ได้แก่ การกินพอดี การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมองโลกในแง่ดี การปล่อยวาง การผ่อนคลาย และการมีความภาคภูมิใจในตนเอง 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจากกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมประเภทอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุสนใจ และ 3) การสนับสนุนที่ดี ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน และองค์กรต่างๆ


การค้นพบมุมมองสุขภาพจิต และการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุนี้ เป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีตรงกับตามความต้องการของผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสูง. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27623.

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 21-37.

เกษม ตันติผลาชีวะ, และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2558). การรักษาสุขภาพในวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 306-318.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ, และบุศริน เอี่ยวสีหยก. (2562). ความสุขของผู้สูงอายุไทยในยุค Thailand 4.0. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 219-228.

ณัฐิกา ราชบุตร, จุลจีรา จันทะมุงคุณ, และจารุภา แซ่ฮ่อ. (2560). การศึกษาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันโรคซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ ตำบลดอนมนต์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(40), 115-125.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, และเอกอนงค์ สีตลาภินันท์. (2554). คู่มือสร้างความสุขระดับจังหวัด. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

สิริสุดา เตชะวิเศษ, ทักษิกา ชัชวรัตน์, และฐิติพร เรือนกุล. (2561). ปัจจัยทำนายสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 19(3), 84-95.

ภัทรรดา อุ่นกมล. (2562). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรับรู้คุณค่าของตนเองและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 125-136.

สุจริต สุวรรณชีพ, นันทนา รัตนากร, กาญจนา วณิชรมณีย์, พรรณี ภาณุวัฒน์สุข, และนันท์นภัส ประสานทอง. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุนทรี ขะชาตย์, ปวิดา โพธิ์ทอง, และเสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์. (2563). ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตำบลสนามชัย จ.สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 3(2), 42-51.

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการทำงานของผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Burnard, P. (1991). A method of analyzing interview transcripts in qualitative research. Nurse Education Today, 11(6), 461-466.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. California: SAGE.

Marshall, B., Cardon, P., Poddar, A., & Fontenot, R. (2013). Does sample size matter in qualitative research? A review of qualitative interviews in IS research. Journal of Computer Information Systems, 54(1), 11- 22. doi:10.1080/08874417.2013.11645667.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.

World Health Organization. (2016). Mental health of older adults. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults.