การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพตามแนววิถีไทย

Main Article Content

อติญาณ์ ศรเกษตริน
สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
เบญจพร ทองอนันต์

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นประเด็นสำคัญของการบริการสาธารณสุข เนื่องจากสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรัง และเงื่อนไขทางสุขภาพจากการที่มีอายุเพิ่มขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพขึ้นอยู่กับศาสนา วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม วิถีไทยกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ถือว่า ครอบครัวมีบทบาทสำคัญบนพื้นฐานของความกตัญญูกตเวทีและการดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนทางศาสนา ตลอดจนกระทรวงสาธารณสุขได้ผลักดันนโยบายสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ภายใต้แนวคิดสุขภาพพอเพียงและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไทยอย่างต่อเนื่อง ตามหลักศาสนา 3 ส. (สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และ 1 น. (นาฬิกาชีวิต) ซึ่งเป็นหลักการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุไทย   


บทความวิชาการนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพตามแนววิถีไทยจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งสุขภาวะทางกาย จิตใจและจิตวิญญาณ และทางสังคม เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายสุขภาพได้นำไปประยุกต์ใช้ ในการบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน เพื่อสามารถดูแลตนเองและได้รับบริการสุขภาพที่ตรงตามวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤตภาส กังวานรัตนกุล. (2561). แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (Health-related quality of life questionnaires). ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. สืบค้นจาก https://ccpe. pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=491.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ด้านสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2561). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

กัญญาวีร์ เปี้ยนสีทอง, นพดล อินทร์จันทร์, และศรีรัฐ ภักดีรณชิต. (2561). การบริหารกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ โดยใช้กิจกรรมนาฏศิลป์บำบัด สำหรับชุมชนไทยพวน จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 126-136.

การียา ยือแร, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2553). การส่งเสริมการออกกำาลังกายตามหลักศาสนาอิสลามในกลุ่มแม่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 5(9), 83-96.

จารุวรรณ ไผ่ตระกูล, และนะฤเนตร จุฬากาญจน์. (2562). ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนริวาสราชนครินทร์, 8(2), 142-152.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ, และบุศริน เอี่ยวสีหยก. (2562). ความสุขของผู้สูงอายุไทยในยุคThailand 4.0. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 219-228.

ชฎาพร คงเพ็ชร์. (2562). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล, 68(4), 64-71.

ชัยพัฒน์ ศรีรักษา, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร์, กิตติ สุรรณยาวิสุทธิ์, และทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ. (2561). ผลของการรำเซิ้งอีสานต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุไทย: การศึกษานำร่อง. เวชศาสตร์ร่วมสมัย, 62(2), 211-222.

ตัรมีซี สาและ, และฮุสนา ตอเล๊าะ. (2557). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบทบัญญัติอิสลาม: กรณีศึกษา ครอบครัวมุสลิมในหมู่บ้านบาเฆะ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 20-29.

ทิวา มหาพรหม, สุปรีดา มั่นคง, และศุภร วงศ์วทัญญู. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยไทชิต่อท่าทางและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 32(3), 50-65.

เทวัญ ธานีรัตน์, สีไพร พลอยทรัพย์, ทัศนีเวศ ยะโส, และฐิตินันท์ อินทอง (บ.ก.). (2560). แนวทางการดูแลสุขภาพด้วยหลักวิถีธรรม วิถีไทย (3ส. 3อ. 1น.) ของ 5 ศาสนา. นนทบุรี: สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มูลนิธิอุทัย สุดสุข.

นริสา วงศ์พนารักษ์, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-70.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

ปิยฉัตร ดีสุวรรณ, น้ำทิพย์ จองศิริ, สุรางค์รัตน์ พ้องพาน, พัชรินทร์ คำนวล, ภมรศรี ศรีวงศ์พันธ์, และนวัชโรจน์ อินเต็ม. (2564). การพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านยอดนิยม ตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), 415-426.

พรพรรณ มนสัจจกุล, และเพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2563). การจัดการศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2), 17-32.

พระเทพรัตนสุธี. (2557). การดูแลบิดามารดาตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 65-74.

พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร, ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, ทิพย์ ขันแก้ว, โฆษิต คุ้มทั่ว, และสงวน หล้าโพนทัน. (2560). การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 78-88.

พระมหาประสิทธิ์ ปสิทฺโธ. (2559). วัฒนธรรมไทย. สิรินธรปริทรรศน์, 17(2), 34-44.

สุภัทรชัย สีสะใบ, ประเสริฐ ธิลาว, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, และพระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2562). ถอดบทเรียนจากพื้นที่: การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 149-170.

มนัส จันทร์พวง, วิยะณี ดังก้อง, ปาริฉัตร กุลเกลี้ยง, สุภาพร ธนะขว้าง, ณัฐกมล บัวบาน, และเอกภพ นิลพัฒน์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 3(1), 87-102.

มะยุรี วงค์กวานกลม. (2561). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับพิเศษการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 25 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม, 140-148.

มาลี คำคง, มาริสา สุวรรณราช, และสกุนตลา แซ่เตียว. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ โดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา: กรณีศึกษาชมชนผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 23(2), 69-82.

วรดา รุ่งเรือง. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 249-258.

วราภรณ์ แย้มมีศรี, และปราณี จันธิมา. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบรำวงย้อนยุคต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(2), 58-68.

วลัญช์ชยา เขตบำรุง, มะลิ โพธิพิมพ์, พงศ์ภัทร ภิญโญ, อารีย์ เชื้อเดช, ฉัตรทอง บุณยภัทรากุล,… วงเดือน ประณีตพลกรัง. (2563). การพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นที่เหมาะสม โดยการมีส่วนร่วมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 6(1), 77-89.

วาสุกรี เชวงกูล. (2554). วิถีชีวิตชาวผู้ไทยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(3), 206-210.

วิชัย เอกพลากร (บ.ก.). (2553). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: เดอะกราฟฟิโก ซิสเต็มส์.

วิน เตชะเคหะกิจ. (2561). การประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและค่าอรรถประโยชน์ในงานวิจัยสุขภาพ. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (2558). หน่วยที่ 15 แนวทางการพัฒนาบนวิถีไทย. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ประมวลสาระชุดวิชา ไทยศึกษา หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 25) (หน้า 347-372). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมเกียรติ สุทธิรัตน์, และปาริชาติ เมืองขวา. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม, 255-261.

สมคิด แทวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 67-80.

สำนักงานยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2561). การพัฒนาชุมชนต้นแบบรองรับสังคมสูงอายุ: โรงเรียนผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และสุธิดา แก้วทา (บ.ก.). (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

อัมภิชา นาไวย์, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, ไพรัช โกศัลย์พิพัฒน์, ศรีจันทร์ ฟูใจ, และสุทธิดา พงษ์พันธ์งาม. (2563). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ในชุมชนที่มีอาการปวดข้อเข่า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 266-285.

อาริยา สอนบุญ, อุไร จำปาวะดี, และทองมี ผลาผล. (2562). วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 241-248.

Haugan, G., Drageset, J., André, B., Kukulu, K., Mugisha, J., & Utvær, B. K. S. (2020). Assessing quality of life in older adults: psychometric properties of the OPQoL-brief questionnaire in a nursing home population. Health and Quality of Life Outcomes, 18(1), 1-14.

Koch, S. C., Riege, R. F., Tisborn, K., Biondo, J., Martin, L., & Beelmann, A. (2019). Effects of dance movement therapy and dance on health-related psychological outcomes. A meta-analysis update. Frontiers in psychology, 10, 1806.

Liu, X., Shen, P. L., & Tsai, Y. S. (2021). Dance intervention effects on physical function in healthy older adults: a systematic review and meta-analysis. Aging clinical and experimental research, 33(2), 253-263.

Mattle, M., Chocano-Bedoya, P. O., Fischbacher, M., Meyer, U., Abderhalden, L. A., Lang, W., ... & Bischoff-Ferrari, H. A. (2020). Association of dance-based mind-motor activities with falls and physical function among healthy older adults: a systematic review and meta-analysis. JAMA Network Open, 3(9), e2017688.

Tangpakdeerat, W., & Sakulbumrungsil, R. (2020). Development of health-related quality of life questionnaire for patients on continuous drug use. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences, 44(2), 124-135.

WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science & Medicine, 41(10), 1403-1409.