ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลระแงะ จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

เอกวิทย์ จินดาเพ็ชร
วรินทร จันทสิโร
วนิสา หะยีเซะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงกันยายน พ.ศ.2563 สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตา จำนวน 136 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลตรวจจอประสาทตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์สเปียร์แมน


ผลวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอายุเฉลี่ย 62.73 ปี (SD = 12.73) ไม่พบความผิดปกติของจอประสาทตา ร้อยละ 68.40 และมีระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในระดับรุนแรงน้อย ปานกลาง และมาก ร้อยละ 5.87, 13.24, และ 8.82 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (r = .29, p < .01) ในขณะที่อายุมีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.40, p < .01) 


ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรได้รับการติดตาม ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ควบคู่กับการตรวจจอประสาทตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติ และให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยก่อนที่การดำเนินของโรคจะรุนแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). อัตราป่วยตายโรค NCDs ปี 2559-2562. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission3.

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, และธิดารัตน์ อภิญญา (บ.ก.). (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โนโวนอร์ดิคฟาร์มา.

ชายชาญ รุ่งศิริแสงรัตน์. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(2), 179-188.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

เด่นชัย ตั้งมโนกุล. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(3), 225-236.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-120.

วรัทพร จันทร์ลลิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน. บทความปริทัศน์, 23(2), 36-45.

ศรีสุดา พรหมเอียด, และฮายาตี ฮารี. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบันนังสตา จังหวัดยะลา. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 4(3), 36-40.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.

สืบสกุล ต๊ะปัญญา. (2559). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ลำปางวารสาร, 37(1), 24-32.

อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์, ปวริศ หะยีอามะ, ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ, กรชนก ตั้งนภาดล, ... ฟาฮัร หะยีอูเซ็ง. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 29-43.

Ahmed, R. A., Khalil, S. N., & Al-Qahtani, M. A. (2016). Diabetic retinopathy and the associated risk factors in diabetes type 2 patients in Abha, Saudi Arabia. Journal of Family & Community Medicine, 23(1), 18-24.

Chiu, T. T., Tsai, T. L., Su, M. Y., Yang, T., Tseng, P. L., Lee, Y. J., & Lee, C. H. (2021). The related risk factors of diabetic retinopathy in elderly patients with type 2 diabetes mellitus: A hospital-based cohort study in Taiwan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(1), 307. doi.org/ 10.3390/ijerph18010307.

Giloyan, A., Harutyunyan, T., & Petrosyan, V. (2015). The prevalence of and major risk factors associated with diabetic retinopathy in Gegharkunik province of Armenia: Cross-sectional study. BMC Ophthalmology, 15(46), 1-7.

Mathala, N., Akula, A., Hegde, S., Bitra, R., & Sachedev, V. (2020). Assessment of circulating biomarkers in relation to various stages of diabetic retinopathy in type 2 diabetic patients-A cross sectional study. Current Diabetes Reviews, 16(4), 402-409.

Rodriguez-Poncelas, A., Miravet-Jiménez, S., Casellas, A., Barrot-De La Puente, J. F., Franch-Nadal, J., López-Simarro, F., ... & Mundet-Tudurí, X. (2015). Prevalence of diabetic retinopathy in individuals with type 2 diabetes who had recorded diabetic retinopathy from retinal photographs in Catalonia (Spain). British Journal of Ophthalmology, 99(12), 1628-1633.