บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต ในหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนอนหลับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยวิกฤตในแผนกผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยวิกฤตมักจะมีปัญหาการนอนไม่มีประสิทธิภาพ มีหลายปัจจัยที่รบกวนวงจรการนอนหลับ จำแนกเป็น 2 ด้าน คือ ปัจจัยรบกวนด้านร่างกาย เกิดจากแสงสว่างและเสียงของอุปกรณ์ต่างๆ ในหอผู้ป่วย และปัจจัยรบกวนด้านจิตใจ ได้แก่ ความกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคและการรักษา พยาบาลในแผนกผู้ป่วยหนักเป็นผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด จึงควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการนอนหลับ
แนวทางในการส่งเสริมการนอนหลับ เริ่มต้นด้วยการประเมินประสิทธิภาพการนอนและปัจจัยรบกวนการนอนหลับ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤตภายใต้บทบาทอิสระของพยาบาล ได้แก่ 1) การบรรเทาความไม่สุขสบายทางร่างกาย โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การนอนหลับ และการจัดการความปวด 2) การลดการรบกวนจากกิจกรรมการพยาบาล โดยการจัดช่วงเวลานอนให้แก่ผู้ป่วย และ 3) การดูแลด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการสื่อสารความก้าวหน้าในการรักษาในขอบเขตของพยาบาล และการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา
ทั้งนี้ การนำแนวทางสำหรับการส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤตควรพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของหน่วยงานนั้นๆ ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร และแหล่งทรัพยากรที่มี รวมทั้งการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและปฏิบัติตามไปในทางเดียวกัน
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กวีวรรณ ใจกล้า, จินดารัตน์ ชัยอาจ, และมยุลี สำราญญาติ. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤต. พยาบาลสาร, 47(4),216-228.
จินดารัตน์ ชัยอาจ. (2556). ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในโรงพยาบาล: การจัดการโดยไม่ใช้ยา. พยาบาลสาร, 40(พิเศษ), 105-115.
นงค์นุช แนะแก้ว. (2560).ความเครียด ความวิตกกังวลและการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ. เวชบันทึกศิริราช, 10(2), 103-108.
นฤมล กิจจานนท์, และอัจฉรา จงเจริญกำโชค. (2562). การรับรู้คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ในหน่วยวิกฤต. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(1), 48-58.
พิสมัย โคตรทัศน์, และกล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2559) การส่งเสริมการนอนหลับสำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. วารสารวิจัย มข., 16(3), 35-46.
Beltrami, F. G., Nguyen, X.-L., Pichereau, C., Maury, E., Fleury, B., & Fagondes, S. (2015). Sleep in the intensive care unit. Jornal Brasileiro de Pneumologia, 41(6), 539- 546.
Elliott, R., McKinley, S., & Cistulli, P. (2011). The quality and duration of sleep in the intensive care setting: An integrative review. International Journal of Nursing Studies, 48(3), 384-400.
Grover, S., & Natasha, K. (2012). Assessment scales for delirium: A review. World Journal of Psychiatry, 2(4), 13-33.
Hellstrom, A., & Willman, A. (2011). Promoting sleep by nursing interventions in health care settings: A systematic review. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 8(3), 128-142. doi: 10.1111/j.1741- 6787.2010.00203.x.
Her, J., & Cho, M. K. (2021). Effect of aromatherapy on sleep quality of adults and elderly people: A systematic literature review and meta-analysis. Complementary Therapies in Medicine, 60, 102739.
Hirshkowitz, M., Whiton, K., Albert, S. M., Alessi, C., Bruni, O., DonCarlos, L., ... & Hillard, P. J. A. (2015). National Sleep Foundation’s sleep time duration recommendations: methodology and results summary. Sleep Health, 1(1), 40-43.
Honarmand, K., Rafay, H., Le, J., Mohan, S., Rochwerg, B., Devlin, J. W.,... & Bosma, K. J. (2020). A systematic review of risk factors for sleep disruption in critically ill adults. Critical Care Medicine, 48(7), 1066-1074.
Jerath, R., Beveridge, C., & Barnes, V. A. (2019). Self-regulation of breathing as an adjunctive treatment of insomnia. Frontiers in Psychiatry, 9, 780. doi: 10.3389/fpsyt.2018.00780.
King, L. M., Bailey, K. B., & Kamdar, B. B. (2015). Promoting sleep in critically ill patients. Nursing 2020 Critical Care, 10(3), 37-43.
Maas, M. B., Lizza, B. D., Abbott, S. M., Liotta, E. M., Gendy, M., Eed, J.,... & Zee, P. C. (2020). Factors disrupting melatonin secretion rhythms during critical illness. Critical Care Medicine, 48(6), 854-861.
Pilkington, S. (2013). Causes and consequences of sleep deprivation in hospitalised patients. Nursing Standard, 27(2), 35-42.
Umbrello, M., Sorrenti, T., Mistraletti, G., Formenti, P., Chiumello, D., & Terzoni, S. (2019). Music therapy reduces stress and anxiety in critically ill patients: A systematic review of randomized clinical trials. Minerva Anestesiologica, 85(8), 886-898. doi:10.23736/S0375-9393.19.13526-2.