การศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ามารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 122 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .69 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมทางสุขภาพอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง โดยมีระดับพฤติกรรมด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานระดับปานกลางสูงที่สุด (M = 1.52, SD = .50) รองลงมาคือด้านการบริโภคอาหาร (M = 1.32, SD = .21) และด้านการออกกำลังกาย (M = 1.26, SD = .54) ส่วนด้านการใช้ยาอยู่ในระดับต่ำ (M = .92, SD = .37)
ผลการวิจัยสะท้อนถึงการปรับปรุงวิธีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา โดยเน้นการให้ข้อมูลที่เข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้านต้านโรค จัดเวทีเสวนาระหว่างผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้มีการสะท้อนคิดถึงวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ชัชรินทร์ กูเมาะ, และรุ่งนภา จันทรา. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก จังหวัดปัตตานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2), 85-99.
ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เบ้าจังหาร, ธรพร น้อยเปรม, สาวิกา พาลี, และจันทร์เพ็ญ แสงขันธ์. (2560). พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 6(2), 53-62.
ธีรนันท์ วรรณศิริ, และณัฐธยา อังคประเสริฐกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนครอบครัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ธีรนันท์ วรรณศิริ. (2559). สัมพันธภาพในครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 31-50.
ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, สุปรียา ตันสกุล และพิศาล ชุ่มชื่น. (2557). ความรู้ และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University, 1(1), 1-12.
ภัสราภรณ์ ทองภูธรณ์, และสุวลี โล่วิรกรณ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 13(1), 22-32.
วิชัย เอกพลากร (บ.ก.). (2557) รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297.
สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 59-74.
American Diabetes Association. (2016). 1. Strategies for improving care. Diabetes Care, 9(Suppl 1), 6-12.
Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Parsons, M. A. (2002). Health promotion in nursing practice (4th ed.). New Jersey: Pearson.
Supachaipanichpong, P., Vatanasomboon, P., Tansakul, S., & Chumchuen, P. (2018). An education intervention for medication adherence in uncontrolled diabetes in Thailand. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(2), 144-155.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.) New York: Harper and Row.