สมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว ในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนคู่ขนานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้รับบริการ เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มละ 10-15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 1-12 จำนวน 321 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว ควรมีองค์ความรู้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีสมรรถนะที่เกิดผลลัพธ์ต่อประชาชน ได้แก่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง สมรรถนะด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน สมรรถนะเวชปฏิบัติ สมรรถนะวิชาการและการวิจัย สมรรถนะการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค สมรรถนะการติดต่อสื่อสาร และสมรรถนะการทำงานเป็นทีม
2. สมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวในมุมมองของพยาบาลวิชาชีพสูงกว่านักวิชาการสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = .839, p < .05)
ควรมีการศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขในการบริการสุขภาพปฐมภูมิและระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรที่สอดรับกับบริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งการจัดหลักสูตรอบรม เพื่อให้บุคคลากรสาธารณสุขสามารถการทำงานเชื่อมโยงแบบสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, บุญเรือง ขาวนวล, และไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ. (2562). ผลของหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายทางปัญญาเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพในชุมชนต่อการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของหมออนามัย. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 37-57.
จิราพร สร้อยมุกดา. (2558). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาคเอกชน เครือข่ายโรงพยาบาลนวมินทร์ (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนปฏิรูปประเทศ. (2561, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 24 ก. หน้า 1-2.
นครินทร์ สุวรรณแสง, และภราดร ยิ่งยวด. (2563). คลินิกหมอครอบครัว: แนวคิดและการจัดการตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล, 35(1), 5-17.
พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 165-185.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, และณัฐกา สงวนวงษ์. (2556). สมรรถนะหลักและบทบาทของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ. นครปฐม: สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
โสภณ เมฆธน, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล, สิริชัยนามทรรศนีย์,… ชนบท บัวหลวง. (2559). แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อัฌชา สุวรรณกาญจน์, ประณีต ส่งวัฒนา, มุสลินท์ โต๊ะกานี, และนันทิยา โข้ยนึ่ง. (2555). วิจัยและพัฒนาสมรรถนะเชิงพื้นที่ทางการพยาบาลอนามัยชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้ (รายงานการวิจัย). นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
Bass, B. M., & Bruce, J. A. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. New York: Sage.
Best, J. W. (1977). Research in education (3re ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (2nd ed.). New York: Wiley.
Karunamuni, N., Imayama, I., & Goonetilleke, D. (2021). Pathways to well-being: Untangling the causal relationships among biopsychosocial variables. Social Science & Medicine, 272, 112846. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2020.112846.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Beverly Hills: Sage.
Macinko, J., Starfield, B., & Shi, L. (2003). The contribution of primary care systems to health outcomes within Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) countries, 1970-1998. Health Services Research, 38(3), 831-865. doi: 10.1111/1475-6773.00149.
Saad, M., De Medeiros, R., & Mosini, A. C. (2017). Are we ready for a true biopsychosocial–spiritual model? The many meanings of “spiritual”. Medicines, 4(4), 79. doi:10.3390/medicines4040079.
Starfield, B., Shi, L., & Macinko, J. (2005). Contribution of primary care to health systems and health. The Milbank Quarterly, 83(3), 457–502.
Van Doorslaer, E., O'Donnell, O., Rannan-Eliya, R. P., Somanathan, A., Adhikari, S. R., Garg, C. C., ... & Zhao, Y. (2006). Effect of payments for health care on poverty estimates in 11 countries in Asia: an analysis of household survey data. The Lancet, 368(9544), 1357-1364.