การบริการสังคมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุริยา ฟองเกิด
ศุภรา หิมานันโต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริการสังคมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการสังคมโดยภาครัฐ ในการจัดบริการสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนเพื่อให้ได้รับการบริการอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ให้ข้อมูลเป็นญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน และทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 10 คน และผู้มีบทบาทในชุมชน ในการบริการด้านสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพอนามัยโดยภาครัฐ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน พยาบาลชุมชน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประธานชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และจิตอาสา คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน แบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ 1) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2) การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข 3) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4) การดูแลที่บ้าน และ 5) โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ผลการศึกษาสะท้อนลักษณะบริการสังคมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจจะนำไปใช้เพื่อวางแผนจัดบริการทางสังคมของภาครัฐโดยเฉพาะประเด็นของสุขภาพอนามัยให้ครอบคลุม มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, เผด็จการ กันแจ่ม, ธนากร ธนวัฒน์, ณิชารีย์ ใจคำวัง, และพิชชาภา คนธสิงห์. (2562). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 65-78.

กชกร วัชรสุนทรกิจ, และสุภาณี แก้วพินิจ. (2560). มาตรฐานบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. พิษณุโลก: ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม care plan. สืบค้นจาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1392.

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์, และวารี ศรีสุรพล. (2560). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5 (พิเศษ), 387-405.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ปนันดา จันทร์สุกรี, นิตินัย รุ่งจินดารัตน์, และพีระศักดิ์ จิ้วตั้น. (2560). ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

ปิยะนุช ชัยสวัสดิ์, ภิฤดี ภวนานันท์, สุรชาติ ณ หนองคาย, และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2559). การใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของผู้สูงอายุตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี. วชิรสารการพยาบาล, 18(2), 42-50.

ปิยะดา ภักดีอำนาจ, และพรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุของ องค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(2), 121-151.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, และศุภวดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมันตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 79-87.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์, นิสาชล นาคกุล, และวิชญา โรจนรักษ์. (2559). สถานการณ์ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 54-64.

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธุ์, และยุวดี รอดจากภัย. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 13-20.

รณิดา มนต์ขลัง, ภักดี โพธิ์สิงห์, และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายเพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการบริการสุขภาพผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 133-153.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน. (2563). ข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan. ชลบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน.

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2563. สืบค้นจาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/ dashboard/agedcareplan/changwat?year=2020&rg=06.

วิชุดา ทัศแก้ว, และชนินทร์ เจริญกุล. (2560). การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุตามประกาศกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2554. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 35-43.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2560). ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิฑูรย์การปก (1997).

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่ม 3 การบริหารจัดการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์.

อภินันท์ สนน้อย, ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ, และสุรชัย ปิยานุกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 153-169.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 235-243.

Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Valle R. & King M. (Eds.), Existential phenomenological alternatives for psychology (pp 48-71). London: Oxford University Press.

Thomas, B., & Sandrine, J. (2016). Does home care for dependent elderly people improve their mental health?. Journal of Health Economics, 45(1), 149-160.