ภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ปิยะวดี สุมาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบพรรณนา เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 159 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบไคว์สแควร์


ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร มีภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 75 ราย (47.20%) ระดับปานกลาง จำนวน 35 ราย (22.00%) และระดับสูง จำนวน 49 ราย (30.80%) โดยด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ จำนวน 79 ราย (49.70%) ด้านการลดความเป็นบุคคล จำนวน 79 ราย (49.70%) และความสำเร็จส่วนบุคคล จำนวน 75 ราย (47.20%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงานพยาบาล ระยะเวลาทำงานในหน่วยงาน และจำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน ตามลำดับ (x2 = 17.16, 10.38, 21.9, 13.22 และ 6.30; p < .05)


จากผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารองค์กรพยาบาลสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงระบบการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลในกลุ่มที่ภาวะหมดไฟในการทำงานระดับสูง ทั้งการจัดสรรเวลาทำงาน และแรงจูงใจในการทำงาน เช่น ค่าตอบแทน รางวัล และความก้าวหน้าในบันไดวิชาชีพ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข . แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: เอวัน ปริ้นติ้ง.

กานต์ชนก แซ่อุ่ย, และธีรวรรณ ธีระพงษ์. (2554). ปัจจัยพยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ให้การ ปรึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 42(2), 19-31.

กฤษดา แสวงดี, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย, และอำนวย กาจีนะ. (2558). ภาระงานและผลิตภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ 12 แห่งในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(4), 741-750.

นันทาวดี วรวสุวัส, มนัสพงษ์ มาลา, และกุลิสรา พิศาลเอก. (2560). โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจป้องกันภาวะหมดไฟ ดูแลใจคนทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7. ขอนแก่น: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.

จุฑารัตน์ แซ่ล้อ, และสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 95-103.

จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: บางแสนการพิมพ์.

ดุษฏี อุดมอิทธิพงศ์, กฤตนัย แก้วยศ, และเกยูรมาศ อยู่ถิ่น. (2557).ความเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 8(2), 40-53.

ธวัชชัย วรพงศธร, และสุรีย์พร วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารกรมอนามัย, 14(2), 11-21.

นฤมล สุธีรวุฒิ. (2558). ภาวะหมดไฟ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการป้องกัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(91), 16-25.

นิศากร กะการดี, อารี ชีวเกษมสุข, และดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2563). ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นวายโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 293-301.

วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ, บุญเติม แสงดิษฐ, และทศพร วิมลเก็จ. (2561). ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(3), 163-172.

ศรีสกุล เฉียบแหลม, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. แพทยสารทหารอากาศ, 65(2), 44-52.

ศิวัช ธำรงวิศว, จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, และวิศรุต ศรีสินทร. (2562). ความเหนื่อยล้าจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(3), 177-185.

Adriaenssens, J., De Gucht, V., & Maes, S. (2015). Determinants and prevalence of burnout in emergency nurses: A systematic review of 25 years of research. International Journal of Nursing Studies, 52(2), 649-661.

Ardiansyah, R. T., Putra, F. N., Soebagiyo, H., & Weu, B. Y. (2019). Factors affecting burnout syndrome among nurses: A systematic review. Jurnal Ners, 14(3), 272-276.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum.

Dall’Ora, C., Ball, J., Reinius, M., & Griffiths, P. (2020). Burnout in nursing: A theoretical review. Human Resources for Health, 18(41), 1-17.

Ezenwaji, I. O., Eseadi, C., Okide, C. C., Nwosu, N. C., Ugwoke, S. C., Ololo, K. O., ... & Oboegbulem, A. I. (2019). Work-related stress, burnout, and related sociodemographic factors among nurses: Implications for administrators, research, and policy. Medicine, 98(3), e13889. doi:10.1097/MD.0000000000013889.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Galanis, P., Vraka, I., Fragkou, D., Bilali, A., & Kaitelidou, D. (2021). Nurses' burnout and associated risk factors during the COVID‐19 pandemic: A systematic review and meta‐analysis. Journal of Advanced Nursing, 77(8), 3286-3302.

Jha, A. K.; Iliff, A. R.; Chaoui, A. A.; Defossez, S.; Bombaugh, M. C.; & Miller, Y. A. (2018). A crisis in health care: A call to action on physician burnout. Massachusetts: Massachusetts Medical Society. Retrieved from https://kcmedicine.org/wp-content/uploads/2019/02/PhysicianBurnoutReport2018FINAL.pdf.

Khammar, A., Dalvand, S., Hashemian, A. H., Poursadeghiyan, M., Yarmohammadi, S., Babakhani, J., & Yarmohammadi, H. (2018). Data for the prevalence of nurses’ burnout in Iran (a meta-analysis dataset). Data in Brief, 20, 1779-1786.