การส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ: แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาล

Main Article Content

จิริยา อินทนา
กนิพันธุ์ ปานณรงค์
หยาดชล ทวีธนาวณิชย์
ปาริชาต ญาตินิยม
ลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์

บทคัดย่อ

การใช้ยาในผู้สูงอายุถือเป็นประเด็นสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัยสูงอายุ ทำให้การใช้ยามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรกิริยาต่อร่างกาย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงร่างกายจากกระบวนการชรา การรับรู้ที่เสื่อมถอย การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายโรค การรักษาโดยแพทย์หลายคน  และทัศนคติในการใช้ยา ปัญหาการใช้ยาที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ ได้แก่ การใช้ยาหลายขนานทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันของยากับยา การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มอาการผู้สูงอายุ เนื่องจากการใช้ยา ได้แก่ ความจำบกพร่อง ภาวะสับสนเฉียบพลัน กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ การพลัดตกหกล้ม และภาวะทุพโภชนาการ รวมถึงภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตในที่สุด 


พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ ด้วยการประเมินการใช้ยาของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม การให้ความรู้ การจัดยาอย่างถูกต้อง จัดหาอุปกรณ์หรือวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้ถูกต้องแม้จะมีข้อจำกัดด้านร่างกาย และการประสานงานระหว่างทีมสหวิชาชีพเพื่อให้การใช้ยาเกิดความปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

จิริยา อินทนา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

 

 

หยาดชล ทวีธนาวณิชย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

 

  

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/ download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และสำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 20(1), 31-39.

ชื่นจิตร กองแก้ว, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2557). การใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปณิตา ลิมปวัฒนะ. (2561). โรคหรือภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติทางการแพทย์. ใน ปณิตา ลิมปวัฒนะ (บ.ก.), กลุ่มอาการสูงอายุและประเด็นทางสุขภาพที่น่าสนใจ (น.187-202). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ปราโมทย์ ปราสาทกุล (บ.ก.). (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

ปิยดา ยุ่ยฉิม, มยุรี นิรัตธราดร, พนิดา ศิริอำพันธ์กุล, และณัฐพัชร์ บัวบุญ. (2561). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการปัญหาการใช้ยาต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(1), 44-56.

วาสนา นัยพัฒน์. (2553). ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 3(1), 2-14.

วินัดดา ดรุณถนอม, จิตรลดา อุทัยพิบูลย์, และปวีณ ตั้งจิตต์พิสุทธิ์. (2562). ความร่วมมือและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 19-27.

ศิรสา เรืองฤทธ์ชาญกุล. (2561). การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 41(1), 95-104.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุทธิพงษ์ รักเล่ง, สมเกียรติยศ วรเดศ, และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2559). ความชุก ปัญหาการใช้ยา และผลลัพธ์ของการใช้ยาหลายขนานในการรักษาผู้ป่วย: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(6), 1084-1096.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และนิรนาท วิทยโชคกิติคุณ. (2558). พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(1), 32-46.

American Geriatrics Society 2015 Beers Criteria Update Expert Panel, Fick, D. M., Semla, T. P., Beizer, J., Brandt, N., Dombrowski, R., ... & Steinman, M. (2015). American Geriatrics Society 2015 updated beers criteria for potentially inappropriate medication use in older adults. Journal of the American Geriatrics Society, 63(11), 2227-2246.

Boltz, M., Capezuti, E., Zwicker, D., & Fulmer, T. T. (Eds.). (2020). Evidence-based geriatric nursing protocols for best practice (6th ed.). New York: Springer.

Dutta, M., & Prashad, L. (2015). Prevalence and risk factors of polypharmacy among elderly in India: evidence from SAGE data. International Journal of Public Mental Health and Neurosciences, 2(2), 11-16.

Edward, S., & Axe S. (2015). The 10 ‘R’s of safe multidisciplinary drug administration. Nurse Prescribing, 13(8), 398-406.

Jett, K. F. (2014). Safe Medication Use for Older Adult. In T. Touhy & K. F. Jett (Eds.), Ebersole and Hess Gerontological Nursing & Healthy Aging (4th ed.) (pp.106-120), St. Louis: Mosby.

Nechba, R. B., Kadiri, M. E. M. B., Bennani-Ziatni, M., Zeggwagh, A. A., & Mesfioui, A. (2015). Difficulty in managing polypharmacy in the elderly: Case report and review of the literature. Journal of Clinical Gerontology and Geriatrics, 6(1), 30-33.

O'Mahony, D., O'Sullivan, D., Byrne, S., O'Connor, M. N., Ryan, C., & Gallagher, P. (2015). STOPP/START criteria for potentially inappropriate prescribing in older people: Version 2. Age and Ageing, 44(2), 213-218.

Vatcharavongvan, P., & Puttawancha, V. (2017). Polypharmacy, medication adherence, and medication management at home in elderly patients with multiple non-communicable diseases in Thai primary care. Family Medicine & Primary Care Review, 19(4), 412-416.