การรับรู้สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังต่อการบริการการดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการบริการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 243 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการรับรู้สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังต่อการบริการทางสุขภาพที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุผู้สูงอายุ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการรับรู้สภาพความเป็นจริงของการบริการการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมาก (M =3.51, SD = .66) และมีความคาดหวังต่อการบริการการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมาก (M = 3.92, SD = .65) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดทั้งการรับรู้สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังคือ การได้รับเครื่องมือ/อุปกรณ์ช่วย (M = 3.62, 4.02; SD = .64, .66) และต่ำสุดในด้านการตรวจรักษาเพิ่มเติมจากแพทย์/พยาบาล (M = 3.34, 3.80; SD = .68, .62) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 10.01, p = .04)
ดังนั้น การจัดบริการดูแลสำหรับผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ควรสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ช่วย เช่น เก้าอี้นั่งขับถ่าย เครื่องช่วยฟัง รถเข็น ให้มีเพียงพอต่อต้องการความจำเป็นของผู้สูงอายุ
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กมลชนก ขำสุวรรณ, และมาดี ลิ่มสกุล. (2560). คุณค่าของผู้สูงอายุในระบอบของความเป็นจริง: ความท้าทายของนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 25(1), 133-156.
นิธิวัช เหล็มปาน. (2554). ความคาดหวังของผู้รับบริการ ต่อคุณภาพบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปราโมทย์ ประสาทกุล (บ.ก.). (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.
พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์, อุษาษ์ โถหินัง, วรางคณา อ่ำศรีเวียง, และนารีลักษณ์ ฟองรัตน์. (2560). สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง: เขตเทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 85-95.
รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 16-19.
วนาพรรณ ชื่นอิ่ม, และพาณี สีตกะลิน. (2560). ความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการของหน่วยบริการสุขภาพบุคลากร. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(1), 122-137.
วริศรา เบ้านู, และพาณี สีตกะลิน. (2562). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่องานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 157-172.
วรัญญา เขยตุ้ย, ชัญญานุช ทิวะสิงห์, และวลัยพร ราชคมน์. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 101-119.
วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ศิริพันธ์ สาสัตย์, พรทิพย์ มาลาธรรม, และจิณณ์สิธา ณรงค์ศักดิ์. (2557). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล, 29(3), 104-115.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์, และมิณณา เอี่ยมวัฒนะ. (2561). ความต้องการและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านสำหรับผู้สูงอายุในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 3130-3143.
วันเพ็ญ เหลืองนฤทัย. (2561). ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของหน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(1), 72-48.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2552). บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สุปราณี สิทธิกานต์, และดารุณี จงอุดมการณ์. (2563). อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 19-29.
สุมาลัย วรรณกิจไพศาล(2559) การพัฒนาการจัดรูปแบบบริการผู้สูงอายุมีส่วนร่วม เทศบาลเมืองปากช่อง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 3(2), 90-104.
เสมอ จัดพล. (2556). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 6(3), 510-519.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7th ed.). New York: Prentice-Hall.
Vroom, V.H. (1984). Work and motivation. New York: Wiley.