เทคนิคการสื่อสารในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นสมรรถนะหนึ่งของพยาบาลซึ่งมีความสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การสื่อสารที่ดีเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่อความเจ็บป่วยอันจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวต่อภาวะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และสามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสมกับโรคเพื่อลดความทุกข์ทรมาน รวมถึงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดของผู้ป่วยเท่าที่ตนเองปรารถนาและสามารถทำได้ ในด้านหนึ่งการสื่อสารถือเป็นบทบาทอิสระที่พยาบาลสามารถทำได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพก็อาจเป็นอุปสรรคหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้
บทความนี้ จึงให้แนวทางสำหรับพยาบาลในการพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว โดยใช้เทคนิคการสื่อสารในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่า ควรต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และเป็นประโยชน์ที่สุดต่อการดูแลผู้ป่วย
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กิติพล นาควิโรจน์. (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว. กรุงเทพ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
กุลนภา บุญมากุล. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมการเยี่ยมบ้านในการบําบัดทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายของชีวิตที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, กรุงเทพฯ.
ดาริน จตุรภัทรพร. (2562). ดูแลด้วยหัวใจ จากไปด้วยความรัก. กรุงเทพฯ: SOOK Publishing.
นุชนาถ ศรีสุวรรณ, เยาวรัตน์ มัชฌิม, และกิตติกร นิลมานัต. (2557). สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(3), 109-124.
ปทิตตา นึกเว้น, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, และธิราภรณ์ จันทร์ดา. (2559). สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 27(1), 128-141.
ปาณิศา บุณยรัตกลิน. (2562). การสื่อสารกับครอบครัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต: บทบาทพยาบาล.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(2), 90-99.
พรพิมล จันทร์คุณาภาส, ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง, นุชน้อย ประภาโส, วิภา เต็งอภิชาต, รัชนก สิทธิโชติวงศ์, วรัญญา จวนสาง,…วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการระบบยาในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ. (2563). ล้อมวงสนทนา: ศิลปะการสื่อสารสำหรับบุคลากรสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและญาติ. กรุงเทพ: สามลดา.
วราภรณ์ คงสุวรรณ, กิตติกร นิลมานัต, และเยาวรัตน์ มัชฌิม. (2557). อุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตใกล้ตายที่ห้องฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(3), 97-107.
วริทธิ์ตา จารุจินดา. (2561). การลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายด้วยหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(1), 1-12.
วินัดดา ปิยะศิลป์, และวันดี นิงสานนท์ (บ.ก.). (2557). Best practice in communication (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
สุรภา สายแก้ว, ยุพิน ถนัดวณิชย์, และวัลภา คุณทรงเกียรติ. (2563). การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 93-101.
อัญชลี ช. ดูวอล, และตติยา ทุมเสน. (2561). ทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัดสำหรับพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 25-33.
Caswell, G., Pollock, K., Harwood, R., & Porock, D. (2015). Communication between family carers and health professionals about end-of-life care for older people in the acute hospital setting: A qualitative study. BMC Palliative Care, 14(1), 1-14. doi: 10.1186/s12904-015-0032-0.
Chengappa, N., Honest, P. C. R., David, K., Pricilla, R. A., Rahman, S. M., & Rebecca, G. (2020) Effect of BATHE interview technique on patient satisfaction in an ambulatory family medicine centre in South India. Family Medicine and Community Health, 8(4): 326-327. doi: 10.1136/fmch-2020-000327.
Constand, M. K., MacDermid, J. C., Dal Bello-Haas, V., & Law, M. (2014). Scoping review of patient-centered care approaches in healthcare. BMC Health Services Research, 14(1), 1-9.
Fakhr-Movahedi, A., Salsali, M., Negarandeh, R., & Rahnavard, Z. (2011). Exploring contextual factors of the nurse-patient relationship: A qualitative study. Koomesh, 13(1), 23–34.
Hui, D., Nooruddin, Z., Didwaniya, N., Dev, R., De La Cruz, M., Kim, S. H., Kwon, J. H., Hutchins, R., Liem, C., & Bruera, E. (2014). Concepts and definitions for "actively dying," "end of life," "terminally ill," "terminal care," and "transition of care": A systematic review. Journal of Pain and Symptom Management, 47(1), 77-89.
Santana, M. J., Manalili, K., Jolley, R. J., Zelinsky, S., Quan, H., & Lu, M. (2018). How to practice person-centred care: A conceptual framework. Health Expectations, 21(2), 429–440.
Shannon, S. E., Long-Sutehall, T., & Coombs, M. (2011). Conversations in end-of-life care: Communication tools for critical care practitioners. Nursing in Critical Care, 16(3), 124-130. doi: 10.1111/j.1478-5153.2011.00456.
Stewart, M., Brown, J. B., Weston, W., McWhinney, I. R., McWilliam, C. L., & Freeman, T. (2013). Patient-centered medicine: Transforming the clinical method. Florida: Chemical Rubber.
Thomas, C., Cramer, H., Jackson, S., Kessler, D., Metcalfe, C., Record, C., & Barnes, K. R. (2019). Acceptability of the BATHE technique amongst GPs and frequently attending patients in primary care: A nested qualitative study. BMC Family Practice, 20, 121. Retrieved from https://doi.org/10.1186/s12875-019-1011-y.
Vanstone, M., Neville, T. H., Swinton, M. E., Sadik, M., Clarke, F. J., LeBlanc, A., ... & Cook, D. J. (2020). Expanding the 3 wishes project for compassionate end-of-life care: A qualitative evaluation of local adaptations. BMC Palliative Care, 19(1), 1-9.
von Gunten, C. F., Ferris, F. D., & Emanuel, L. L. (2000). Ensuring competency in end-of-life care: Communication and relational skills. The Journal of the American Medical Association, 284(23), 3051-3057. doi: 10.1001/jama.284.23.3051.