สภาพการณ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และแนวทางการป้องกันความเสี่ยงขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

Main Article Content

พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล
วัลทณี นาคศรีสังข์
จันทนา ณหทัยโภคิน

บทคัดย่อ

วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ความตระหนักรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยกับความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 2) เปรียบเทียบความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปี และ 3) ศึกษาสาเหตุของการเกิดความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ดำเนินการวิจัยผสานวิธีแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปี 3 และ 4 ปีการศึกษา 2563 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จำนวน 120 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรับรู้ ความตระหนักรู้และความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นอาจารย์พยาบาล 15 คน อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก 28 คน และตัวแทนนักศึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำหัตถการผิดพลาด 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สนทนากลุ่มตามแนวคำถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดความเสี่ยง และแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. นักศึกษาพยาบาลมีอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย โดยพบมากที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารยา ร้อยละ 33.33 มีการรับรู้ ความตระหนักรู้ และความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.93, 4.95, 4.91; SD = .25, .21, .29 ตามลำดับ)


2. การรับรู้ และความตระหนักรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .77, 79, p < .01) และความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยระหว่างนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยชั้นปี 3 และปี 4 ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.18, p = .00)         


3. การสนทนากลุ่มอาจารย์พยาบาล อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และนักศึกษาพยาบาลพบว่า สาเหตุของอุบัติการณ์ความผิดพลาดขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เกิดจากการขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งความประมาท แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้ป่วย ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และการนิเทศอย่างใกล้ชิดจากทั้งอาจารย์พยาบาลและอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงกลวรรณ มุสิกทอง, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, และจรินทิพย์ อุดมพันธุรัก. (2560). ประสบการณ์การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์กับการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 181-197.

จริญญา บุญรอดรักษ์, อารีรัตน์ ขำอยู่, และโสรัตน์ วงศ์สุทธิธรรม. (2562). ปัจจัยทำนายความสามารถด้านความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี. วารสารแพทย์นาวี, 46(3), 552-565.

ณัฐชยา วุฒิมาปกรณ์. (2557). พฤติกรรมการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 7(1), 698-711.

ธวัชชัย วรพงศธร, และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561). การคํานวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัย โดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประณีต จงพันธนิมิตร. (2561). การบริหารความเสี่ยงในการใช้ยากลุ่มเสี่ยงสูงของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 208-218.

พร บุญมี, สุทธินี มหามิตรวงศ์แสน, และทิติยา กาวิละ. (2561). ความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยง และความปลอดภัยของผู้ป่วยในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 112-124.

สมศักดิ์ โล่ห์เลขา. (2555). การป้องกันการฟ้องร้อง. ใน หมอใหม่ (หน้า 7-8). นนทบุรี: สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา. สืบค้นจาก http://www.tmc.or.th/news_file/detail_ letter_ doctor/ doctor55_2.pdf.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปีงบประมาณ 2557. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/page-about_result.aspx.

สุภิชญา ทองแก้ว, ปราโมทย์ ทองสุข, และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2561). ความตระหนักต่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 62-73.

Girdley, D., Johnsen, C., & Kwekkeboom, K. (2009). Facilitating a culture of safety and patient-centered care through use of a clinical assessment tool in undergraduate nursing education. Journal of Nursing Education, 48(12), 702-705.

Hinkle, D. E, William, W., & Stephen G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences. (4th ed.) New York: Houghton Mifflin.

Southwick, F. S., Cranley, N. M., & Hallisy, J. A. (2015). A patient-initiated voluntary online survey of adverse medical events: The perspective of 696 injured patients and families. BMJ Quality & Safety, 24(10), 620-629.

Vincent, C. (2010). Patient safety (2nd ed.). Chichester: Wiley Blackwell.

Wilson, J., & Tingle, J. (1999). Clinical risk modification: A route to clinical governance. Oxford: Butterworth-Heinemann.

World Health Organization. (2009). Conceptual framework for the international classification for patient safety: Final technical report January 2009. Retrieved from https://apps.who.int/ iris/bitstream/handle/10665/70882/WHO_IER_PSP_2010.2_eng.pdf;jsessionid=FDD4485BDAC863029C66E483E7756D11?sequence=1.