ปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ศิริพร ศรีอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มาบริการฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด โรงพยาบาลท่ายางและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 163 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยการรับรู้ของบุคคล ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการตั้งครรภ์ และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการตั้งครรภ์ และปัจจัยร่วม ได้แก่ อายุของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุของสามี รายได้ของครอบครัว และความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบขั้นตอน


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ร้อยละ 60.73 ปัจจัยที่สามารถทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น ได้แก่ อายุของสามี รายได้ของครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์วัยรุ่น และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยตัวแปรทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการทำนายได้ถูกต้อง ร้อยละ 24.20 (x2 = 32.05, p = .00) โดยการรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์วัยรุ่น (OR = 2.56, 95% CI: 1.34 - 4.88) และรายได้ของครอบครัว (OR = 1.00, 95% CI: 1.00 - 1.00) เป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยไม่ตั้งใจ ในขณะที่อายุของสามี (OR = .90, 95% CI: .82 - .98) และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการตั้งครรภ์ (OR = .45, 95% CI: .23 - .89) เป็นปัจจัยที่ช่วยลดโอกาสในการในการตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยไม่ตั้งใจ          


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศิริพร ศรีอินทร์, โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

Registered Nurse (Professional Level), Primary Care Department

References

กัญญา ตาแสงสา, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, และสุพิศ ศิริอรุณรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของสามีวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 49-58.

เกสร เหล่าอรรคะ, อรทัย แสนบน, เจน โสธรวิทย์, และสมจิตร เมืองพิล. (2563). ผลของการให้คำปรึกษาทางเลือกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ การตัดสินใจของหญิงตั้งครรภ์วัยร่นและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(6), 713-719.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, กมลพรรณ วัฒนากร, ชุติมา เทียนชัยทัศน์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, และกนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์. (2562). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(พิเศษ), 15-28.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, อิชยา มอญแสง, และพัชรินทร์ ไชยบาล. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดพะเยา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 340-353.

เทพไทย โชติชัย, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, สมฤทัย ผดุงผล, กิรณา แต้อารักษ์, และชมพูนุท สิริพรหมภัทร. (2563). การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(1), 212-224.

นพวรรณ มาดารัตน์. (2562). การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 5(1), 35-45.

นฤมล ทาเทพ, และรัตน์ศิริ ทาโต. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(2), 1-11.

นุชราพรรณ วงษ์มั่น, พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์, และจำลอง วงษ์ประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(1), 211-235.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

บุญมี ภูด่านงัว, วรรณี เดียวอิศเรศ, และกนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2557). อยู่กับภาวะทุกข์: ปัญหาจิตสังคมเบื้องต้นที่ปิดกั้นความรู้สึกของการเป็นมารดาในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(3), 43-55.

ปฏิญญา เอี่ยมสำอาง, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และพรนภา หอมสินธุ์. (2556). ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 55-67.

ปวีนภัทร นิธิตันติวัฒน์, และขวัญใจ เพทายประกายเพชร. (2559). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง และแนวทางการป้องกันสำหรับวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยการพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 32(2), 133-146.

พัชราพร ควรรณสุ, ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง, และพรพิมล ควรรณสุ. (2562). การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง ในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารปกครอง, 8(1), 497-518.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น ตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 90-98.

รัตติยา ชูโชติ. (2561). การรณรงค์การคุมกำเนิดในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาลยุค 4.0. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 42-52.

โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ 2563. เพชรบุรี: โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, และเบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. (2561). เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 82-98.

วิรัช วรรณรัตน์. (2560). คะแนนสอบและการตัดเกรด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-11.

วิวรรณ พงศ์พัฒนานนท์. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(2), 161-170.

ศศิธร โพธิ์ชัย, พวงผกา คงวัฒนานนท์, และวนลดา ทองใบ. (2561). ความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และพฤติกรรม การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(3), 71-81.

ศิรินภา แก้วพวง, วรรณี เดียวอิศเรศ, และวรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2561). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 57-66.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560ก). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560ข). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560. นนทบุรี: สำนักอนามัยและเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สุดกัญญา ปานเจริญ. (2557). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุน จากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(3), 113-123.

อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์, และสมจิตร เมืองพิล. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภซ้ำในหญิงตั้งครรภวัยรุ่น. ศรีนครินทรเวชสาร, 30(3), 262-269.

อันติกา ศรีวัฒนกูล. (2560). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชายและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Burns, N., & Grove, S. (1993). The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization (2nd ed). Philadelphia, Pennsylvania: W.B. Saunders.

Cook, S. M., & Cameron, S. T. (2015). Social issues of teenage pregnancy. Obstetrics, Gynaecology & Reproductive Medicine, 25(9), 243-248.

Ganchimeg, T., Ota, E., Morisaki, N., Laopaiboon, M., Lumbiganon, P., Zhang, J., ... & WHO Multicountry Survey on Maternal Newborn Health Research Network. (2014). Pregnancy and childbirth outcomes among adolescent mothers: A World Health Organization multicountry study. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology, 121(Suppl 1), 40-48.

Herd, P., Higgins, J., Sicinski, K., & Merkurieva, I. (2016). The implications of unintended pregnancies for mental health in later life. American Journal of Public Health, 106(3), 421-429.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1975). The health belief model: Origins and correlation in psychological theory. Health Education Monography, 2(4), 336-385.

Maravilla, J. C. (2016). The role of community health workers in preventing adolescent repeated pregnancies and births. Journal of Adolescent Health, 59(4), 378-390.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly, 15(2), 175-183.

Sperandei, S. (2014). Understanding logistic regression analysis. Biochemia Medica, 24(1), 12-18.

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

World Health Organization. (2011). WHO guidelines on preventing early pregnancy and poor reproductive health outcomes among adolescents in developing countries. Geneva: World Health Organization.