แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดบริการห้องฉุกเฉินและคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการจัดบริการห้องฉุกเฉินกับคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาล พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยผสานวิธีแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการตอบแบบสอบถามคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และการจัดบริการห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .99, 97 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 138 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ 2) การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยคุณภาพการให้บริการโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.23, SD = .60) การจัดบริการห้องฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก (M = 4.15, SD = .62) ลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการ การจัดบริการห้องฉุกเฉินด้านผลลัพธ์/ความคาดหวังของผู้รับบริการ และด้านการบริการในยุคไทยแลนด์ 4.0 สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของคุณภาพการให้บริการร้อยละ 82.70 (Beta = .43, .38, p < .01)
2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ควรได้รับการพัฒนา 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการควรพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน มีจำนวนบุคลากรเหมาะสมกับผู้รับบริการ ทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการคัดแยกผู้ป่วย ตามความเร่งด่วนทางการแพทย์และควรพัฒนาห้องตรวจแยกโรคให้ชัดเจน เป็นสัดส่วน เหมาะสม อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทันสมัย เพียงพอ มีความพร้อมใช้ในการให้บริการ มีห้องรอตรวจที่ชัดเจน เป็นสัดส่วน ไม่แออัด และ 2) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ควรเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง และมีแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน มีระบบการดูแลให้เกิดความปลอดภัยและเท่าเทียม ทันเวลา รวดเร็ว และควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559ก). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559ข). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตุลาคม 2559-2579. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
กรีฑา งาเจือ. (2558). คุณภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกรุงเทพตราด จังหวัดตราด(วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
จิตรประไพ สุรชิต. (2560) การรับรู้และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(2), 271-278.
ชาติชาย คล้ายสุบรรณ (บ.ก.). (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามชัย 2017.
ณัฐพล ขันธไชย. (2557). Green, Samuel B. (1991) “How many subjects dose it take to do a regression analysis?” Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510. วารสารเกษมบัณฑิต, 15(1), 140-144.
พรรณนิดา ขุนทรง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(1), 58-82.
พิรุณ รัตนวณิช. (2554). คุณภาพบริการด้านสาธารณสุขสำหรับพยาบาล. นนทบุรี: มายด์ พับลิชซิ่ง.
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2562). รายงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: ฝ่ายทะเบียนงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 159-169.
สุรภา ขุนทองแก้ว. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(11), 30-44.
โสรัจจะราช เถระพันธ์, เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์, และนิตนา ฐานิตธนกร. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. ใน มหาวิทยาลัยรังสิต, การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561 (น.299-309). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Gronroos, C. (1994). Service management and marketing: Managing the moments of truths in service competition. MA: Lexington.
Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Pres.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. L. & Berry, L. L. (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67(4), 420-450.