ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

Main Article Content

วีณา ภักดีสิริวิชัย
พนิตนาฎ ชำนาญเสือ
กรรณิกา เกตุนิล
สิริรดา พรหมสุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 250 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ผลสัมฤทธิ์ในระดับมัธยมปลาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพยาบาล และพฤติกรรมการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า


1. นักศึกษาพยาบาลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 2.83 (SD = 4.27) ผลสัมฤทธิ์ระดับมัธยมปลายเฉลี่ย เท่ากับ 3.22 (SD = .35) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.09 ปี (SD = 1.81) มีค่าครองชีพต่อเดือนเฉลี่ย 6,175.20 บาท (SD = 3199.16) และมีด้านพฤติกรรมการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.28 , SD = .30) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้าน กระบวนการรวบรวมข้อมูล (M = 3.82, SD = .64 ) และต่ำสุดในด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน (M = 2.61, SD =.54)


2. ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 20 (F = 4.95, p = .02) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ระดับมัธยมปลาย ซึ่งมีอำนาจการทำนายสูงสุด รองมาคือ การจัดการกับเวลาทางการเรียน ยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ และอายุ (Beta = .38, .24, .17, .12.; p < .05 ตามลำดับ)         


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า วิทยาลัยฯ ควรกำหนดนโยบายการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนพยาบาล โดยใช้เกรดเฉลี่ยระดับมัธยมปลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การคัดเลือก รวมทั้ง การส่งเสริมกลยุทธ์การเตรียมสอบ และสนับสนุนการจัดการกับเวลาทางการเรียน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, และอรพิน สว่างวัฒนะเศรษฐ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(4), 13-24.

เขมรัศมิ์ ดุจวรรณ, กนิพันธุ์ ปานณรงค์, กัญจนภรณ์ ธงทอง, และทวินันท์ นามโคตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 4(2), 117-125.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟิก.

งานทะเบียนนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา. (2562). สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด. ใน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา, การประชุมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2562.นครนายก: วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา.

งามพันธุ์ สัยศรี. (2555). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินทักษะการจัดการเวลาและเทคนิคการจัดการเวลาสำหรับนักเรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 7(1), 2028-2041.

จินตนา พรพิไลพรรณ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 40-52.

ณัฐพร อุทัยธรรม, ภูษณิศา ไทยสงฆ์, ปวีณา ศรีขิริยะกุล, และสุภาดา พุ่มพวง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(3), 35-45.

ณัฐพัชร์ (จารุณี) อภิวัฒน์ไพศาล. (2557). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 28(10), 19-33.

นิภา กิมสูงเนิน, สุวรีย์ เพชรแต่ง, และจุฬา ยันตพร. (2561). รูปแบบการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24(1), 5-14.

ภัทรพร พงศาปรมัตถ์. (2561). พฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในรายวิชาการภาษีอากร 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 75-86.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 412-420.

วรลักษณ์ นวลพลับ. (2554) .การจำแนกประเภทปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำของนิสิตโครงการปริญญาตรีการบัญชี ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิวิไล โพธิ์ชัย, กนิพันธุ์ ปานณรงค์, ประคองศรี ถนอมนวล, อัจฉรา อิ่มน้อย, และนงลักษณ์ วิชัยรัมย์. (2562). ผลการเตรียมความพร้อมสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 6(1), 103-113.

สภาการพยาบาล. (2554). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 และข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศสภาการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศิริการพิมพ์.

สภาการพยาบาล. (2560). รายงานประจำปี 2560 สภาการพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สิงห์ ไทยวงษ์. (2544). ผลการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวทางทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม ต่อยุทธวิธีการเรียนและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีสถานภาพรอพินิจ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2556) .ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเชิงสถานการณ์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(2), 223-229.

Bloom, B. S. (1982). Human characteristic and school learning. New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Prevatt, F., Petscher, Y., Proctor, B. E., Hurst, A., & Adams, K. (2006). The revised learning and study strategies inventory: An evaluation of competing models. Educational and psychological measurement, 66(3), 448-458.