การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับภาวะไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบฉุกเฉิน

Main Article Content

บุปผาสวรรค์ อุดมพืชน์

บทคัดย่อ

          การล้างไตทางช่องท้องแบบฉุกเฉิน เป็นการบำบัดทดแทนไตที่เป็นทางเลือกที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับภาวะไตวาย เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายถูก ตลอดจนสามารถกำจัดน้ำและของเสียได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ โดยการกำจัดน้ำ ของเสีย และเกลือแร่อย่างช้าๆ จึงไม่รบกวนสรีรวิทยาระบบไหลเวียนของผู้ป่วย นอกจากนี้ การล้างไตทางช่องท้องในระยะยาว ยังช่วยรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่รักษายากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และลดอัตราการนอนโรงพยาบาล จากกรณีศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะของเสียคั่งและน้ำเกิน ได้รับการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องแบบฉุกเฉินโดยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ ต่อเนื่อง 6 วัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นผ่านพ้นภาวะวิกฤต สามารถกลับไปล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องที่บ้านได้


          ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการรักษาของแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งในระยะก่อนล้างไต ระยะล้างไต และระยะจำหน่าย การประเมินผู้ป่วยตาม 11 แบบแผนทางด้านสุขภาพของกอร์ดอน และการให้การพยาบาลแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลจนพ้นภาวะวิกฤต สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนให้คำแนะนำในการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องที่บ้านได้โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และมีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์. (2563). รายงานสถิติการบริการ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. ลพบุรี: โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์ (บ.ก.). (2556). ตำราแนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ (บ.ก.). (2555). เวชบำบัดภาวะวิกฤตทางอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี.

ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ, และระพีพล กุญชร ณ อยุธยา (บ.ก.). (2562). แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ.2562. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์

พรศิริ พันธสี. (2558). กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

รังสฤษฏ์ กาญจนะวณิชย์. (2561). คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2561). บทบาทพยาบาลในการสนับสนุนการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 46-57.

อรวรรณ ขันสำรี, และสุชาดา รัชชุกูล. (2553). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลรัฐ. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 33(2), 57-64.

Corciulo, R., & Corciulo, S. (2017). The peritoneal ultrafiltration in patients with cardio-renal disease. Giornale Italiano di Nefrologia: Organo Ufficiale Della Societa Italiana di Nefrologia, 34(Suppl 69), 86-103.

Ansari, N. (2011). Peritoneal dialysis in renal replacement therapy for patients with acute kidney injury. International Journal of Nephrology, 2011, ID 739794. doi:10.4061/2011/739794.