ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานออนไลน์ในการพยาบาลเด็กโรคหัวใจ ต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานออนไลน์ในการพยาบาลเด็กโรคหัวใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพยาบาลเด็กโรคหัวใจ มีค่าความเชื่อมั่น .74 แบบสอบถามผลการเรียนรู้การพยาบาลเด็กโรคหัวใจ มีค่าความเชื่อมั่น .94 และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบสถิติทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานออนไลน์ในการพยาบาลเด็กโรคหัวใจทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ส่วนด้านคุณธรรมจริยธรรมไม่แตกต่าง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานออนไลน์ สามารถพัฒนานักศึกษาให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดี สามารถบูรณาการกับวิธีการสอนรูปแบบอื่น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตราฐานวิชาชีพต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, จรัสศรี เพ็ชรคง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และนวพร มามาก. (2560). การลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 13-26.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ:สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญฤทัย พันธุ, สุพรรณี เปี้ยวนาลาว, จิตติมา ดวงแก้ว, และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2563). ผลของการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL ต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2), 46-62.
จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, และดวงดาว อุบลแย้ม. (2563). ผลของการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจสุขภาพนักเรียน ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(2), 234-242.
ณัทกวี ศิริรัตน์, และศศิธร ชิดนายี. (2552). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบทีมในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 32-39.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 8-13.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. หน้า 49.
รุ่งกาญจน์ วุฒิ, สมจิตร สิทธิวงศ์, และจันทร์ธิลา ศรีกระจ่าง. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานในการเสริมสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการชี้นำตนเองในการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 17(3), 69-80.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. (2561). รายงานผลการประเมินการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ.
ศักรินทร์ ชนประชา. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่: สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25(2), 13-23.
สมพิศ ใยสุ่น, ปรียารัตน์ รัตนวิบูลย์, และชลดา จันทร์ขาว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานต่อความรู้และการรับรู้ผลการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลมารดาและครอบครัวในระยะตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 73-87.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th.
สินีภรณ์ วัฒนจินดา, จิตรกร ผดุง, และมนต์ชัย น้อยคำสิน. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 7(13), 27-32.
Cheng, C. Y., Liou, S. R., Tsai, H. M., & Chang, C. H. (2014). The effects of team-based learning on learning behaviors in the maternal-child nursing course. Nurse Education Today, 34(1), 25-30.
Clark, M., Merrick, L., Styron, J., Dolowiz, A., Dorius, C., Madeka, K., …Winter., L. (2018). Off to on: Best practices for online team-based learning. San Diego, CA: Center for Excellence in Learning and Teaching Publications.
DeVellis, R. F. (2016). Scale development: Theory and applications (4th ed.). California: SAGE.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Gomez, E. A., Wu, D., & Passerini, K. (2010). Computer-supported team-based learning: The impact of motivation, enjoyment and team contributions on learning outcomes. Computers & Education, 55(2020), 378-390.
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Retrieved from https://apps.who. int/iris/bitstream/handle/10665/41607/0471925179_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Michaelsen, L. K., & Sweet, M. (2008). The essential elements of team‐based learning. New Directions for Teaching and Learning, 2008(116), 7-27.
Sisk, R. J. (2011). Team-based learning: Systematic research review. Journal of Nursing Education, 50(12), 665-669.