ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

Main Article Content

วราณี สัมฤทธิ์
จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา
เบญจวรรณ ช่วยแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 368 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ รูปแบบร่วมมือ ซึ่งอยู่ในระดับสูง (M = 3.86, SD = .41) รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนรู้แบบพึ่งพา (M = 3.76, SD = .41) และรูปแบบการเรียนรู้ที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยง (M = 2.86, SD = .48) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และรูปแบบการเรียนรู้ทุกรูปแบบไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


ผลการวิจัยชี้ว่า ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างของนักศึกษาพยาบาล และจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, และธนินทร์ รัตนโอฬาร. (2560). วิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(2), 171-179.

จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, และเบญจวรรณ ช่วยแก้ว. (2558). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง ระบบโครงร่างของร่างกายรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(3), 93-104.

นิภา กิมสูงเนิน, สุวรีย์ เพชรแต่ง, และจุฬา ยันตพร. (2561). รูปแบบการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24(1), 5-14.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.

พรณิศา แสนบุญส่ง. (2560). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 154-164.

พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, และพรศรี ดิสรเตติวัฒน์. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 70-82.

ภาวนา กีรติยุตวงศ์, สุวรรณี มหากายนันท์, นารีรัตน์ บุญเนตร, และวชรีกร อังคประสารทชัย. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(3), 382-394.

ยุพาพร หอมสมบัติ, วัชรี อาภาธีรพงศ์, สุนิสา ค้าขึ้น, และลออวรรณ อึ้งสกุล. (2561). แนวทางการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ในการขึ้นฝึกปฏิบัติครั้งแรก. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(3), 48-62.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลดาพร ทองสง, และถนิมพร พงศานานุรักษ์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 20(1), 55-71.

วันดี วงศ์รัตนรักษ์, และกุลฤดี จิตตยานนท์. (2556). รูปแบบการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 19(2), 60-72.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริจิตร จันทร, และธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. (2555). ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 5(1), 32-45.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารดา อรรถเมธากุล และดวงแข พิทักษ์สิน. (2561). ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยอย่างมีแบบแผนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 147-163.

อรอุมา ตั้งจรูญ, อรรณพ โพธิสุข, และจตุพล ยงศร (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 13(24), 107-117.

Best, W. J. (1997). Research in education. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Grasha, A. (1996). Teaching with style: A practical guide to enhancing learning by understanding teaching & learning style. Pittsburgh: Alliance.

Jiraporncharoen, W., Angkurawaranon, C., Chockjamsai, M., Deesomchok, A., & Euathrongchit, J. (2015). Learning styles and academic achievement among undergraduate medical students in Thailand. Journal of Educational Evaluation for Health Professions, 12, e38. doi:10.3352/jeehp.2015.12.38

İlçin, N., Tomruk, M., Yeşilyaprak, S. S., Karadibak, D., & Savcı, S. (2018). The relationship between learning styles and academic performance in TURKISH physiotherapy students. BMC medical education, 18(1), e291. doi:10.1186/s12909-018-1400-2

Vizeshfar, F., & Torabizadeh, C. (2018). The effect of teaching based on dominant learning style on nursing students' academic achievement. Nurse Education in Practice, 28, 103-108.

Yazici, H. J. (2016). Role of learning style preferences and interactive response systems on student learning outcomes. International Journal of Information and Operations Management Education, 6(2), 109-134.