ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ วัณโรคปอดในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับบริการ ในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด และ 3) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุ ที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามร้อยยอด จำนวน 143 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพของชุมชน แรงสนับสนุนทางสังคม การสื่อสารทางสุขภาพในชุมชน และพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายวัณโรคปอด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .81, .78 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพของชุมชน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายวัณโรคปอดระดับสูง (M = 4.21, 4.16, 4.26; SD = .73, .66, .56) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยการสื่อสารทางสุขภาพในชุมชนระดับปานกลาง (M = 3.38, SD = .79)
2. การรับรู้ภาวะสุขภาพของชุมชนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง กับพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด (r = .71, p < .01) ในขณะที่การสื่อสารด้านสุขภาพในชุมชน แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด (r =.57, r = .50, p < .01 ตามลำดับ)
3. การรับรู้ภาวะสุขภาพของชุมชนเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดได้สูงสุด รองลงมาคือ การสื่อสารด้านสุขภาพในชุมชน และแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = .64, .37, .26, p < .05 ตามลำดับ) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามร้อยยอด ร้อยละ 41.70
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. สืบค้นจาก http://www.bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.
ขวัญใจ มอนไธสง, จีราภรณ์ กรรมบุตร, และวนลดา ทองใบ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย วัณโรคปอดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(18), 306-314.
เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คำหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ศศิธันว์ มาแอเคียน, วิธัญญา ปิณฑะดิษ, และอรพรรณ โพธิหัง. (2560). ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://www.hitap.net/ wpcontent/uploads/2018.
นงพิมล นิมิตอานันท์, ศศิธร รุจนเวช, และจุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. (2562). รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง ตามมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2), 80-92.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรารถนา วัชรานุรักษ์, และอัจฉรา กลับกลาย .(2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 217-233.
ภมร ดรุณ, และประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71-82.
วัลภา บูรณกลัศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 25-33.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2560). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Becker, M. H. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385.
Cohen, S., & Syme, S. L. (1985). Social support and health. Orlando, FL: Academic Press.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. New York: Quebecor World Fairfield.
Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. Boston: Addison-Wesley.
Ratzan, S. C., Payne, J. G., & Bishop, C. (1996). The status and scope of heath communication. Journal of Health Communication, 1(1), 25-41.