ปัจจัยทำนายความสามารถของผู้ดูแล และแนวทางการดูแลตามแบบแผนความเชื่อสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท

Main Article Content

สิตารัตน์ ศิริพันธ์
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีแบบพร้อมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทำนายความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 98 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้แบบแผนสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถของผู้ดูแล มีค่าความเชื่อมั่น .72, .82 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และ 2) ศึกษาแนวทางการดูแลตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทมีการรับรู้แบบแผนความเชื่อสุขภาพ อยู่ในระดับดี (M = 2.64, SD = .19) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง (M = 2.09, SD = .36) และมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทอยู่ในระดับมาก (M = 2.84, SD = .76) การสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายความแปรปรวนของความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ได้ร้อยละ 15. 60 (Beta = .406, p < .01)


2. แนวทางการดูแลตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและความเห็นใจ มีทักษะการสื่อสารที่ดี ลดการแสดงออกทางอารมณ์ต่อผู้ป่วย มีความรู้เรื่องโรคในการดูแลผู้ป่วย และต้องการการสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน         


ดังนั้น จึงควรดำเนินการวางแผนการดูแลก่อนจำหน่ายในด้านการสนับสนุนทางสังคม โดยการทำกลุ่มผู้ดูแลในคลินิกจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล และส่งเสริมสมาชิกครอบครัว ชุมชนในการเข้าร่วมเยี่ยมบ้านแบบเชิงรุก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี. สืบค้นจาก http://www.dmh.go.th/ report/pdf/ 2551mhworker.pdf.

แก้วตา มีศรี, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(1), 35-49.

ขจีรัตน์ ปรักเอโก, เบ็ญจมาส พฤกษกานนท์, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์, และประณีต ชุ่มพุทรา (บ.ก.). (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

ขนิษฐา สุขทอง, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, และรัชนีกร เกิดโชค. (2555). ผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่อภาระการดูแลและการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย, 26(3), 15-27.

ณัฐติกา ชูรัตน์. (2559). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 24-36.

เทพกร พิทยาภินันท์. (2558). สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ธิดารัตน์ คณึงเพียร. (2556). ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 55-66.

บุบผา ธนิกกุล. (2555). ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 74-86.

มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตเภท. สงขลา: โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง.

สกาวเดือน กลิ่นน้อย, และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(1), 62-73.

สุกัญญา แก้วศิริ, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2561). ผลของกลุ่มสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(1), 119-133.

อรวรรณ จุลวงษ์. (2557). แรงจูงในในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมสุขภาพพลทหารประจำการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 28-30.

อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 17-29.

Best, J. W. (1981). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Caplan, G. (1974). Support systems and community mental health. New York: Behavioral Publication.

Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, quantitative and mixed methods approaches (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2013). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed). Harlow, UK: Pearson Education Limited.

Norman, R. M., Malla, A. K., McLean, T. S., McIntosh, E. M., Neufeld, R. W. J., Voruganti, L. P., & Cortese, L. (2002). An evaluation of a stress management program for individuals with schizophrenia. Schizophrenia Research, 58(2-3), 293-303.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative evaluation and research methods. Thousand Oaks, CA: Sage.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385

Wiersma, W. & Jurs, S. (2009). Research method in education: An introduction (9th ed). Massachusetts: Pearson.